ประวัติ
อภิสิทธิ์เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (2535-2537) ในรัฐบาลชวน หลีกภัย
ในปี 2542 ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และในปี 2548 ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์จนถึงปัจจุบัน
บทบาททางการเมืองของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า จำลองแบบมาจากบุคลิกของนายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นที่น่าสังเกตมาก ว่าในปี 2549 พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ ได้เปิดเกมรุกในการนำเสนอนโยบายต่างๆอย่างชัดเจนในรูปของ "วาระประชาชน" มีการเปิดตัวนโยบายที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดรัฐประหารในวันที่19 กันยายน หลังจากไม่กี่วันก็มีการเปิดตัวเว็ปไซต์ใหม่ของอภิสิทธิ์ มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในเรื่องต่างๆอยู่เป็นประจำ
นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอภิสิทธิ์ว่า เป็นนักการเมืองพันธุ์ใหม่และเป็นพันธุ์ที่สังคมไทยต้องการ นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการจะต้องมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q. I.Q. (Intelligence Quotient) = มีพลังทางปัญญา E.Q. (Emotional Quotient) = มีพลัง หรือ วุฒิสภาวะทางอารมณ์ M.Q.(Moral Quotient) = มีพลังทางศีลธรรม สังคมปัจจุบันมีความเชื่อมโยง และสลับซับซ้อนมาก คนที่จะทำงานการเมืองจะต้องมีปัญญาเข้าใจความซับซ้อนเหล่านี้และต้องสามารถเรียนรู้ตลอดเวลาจึงจะทำงานได้ผล ผู้ใดจะมีปัญญาเท่าใดๆ แต่ถ้าขาดวุฒิสภาวะทางอารมณ์ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน คนที่ปราศจากศีลธรรม (M.Q.) ย่อมนำไปสู่ความล้มละลายทั้งส่วนตัวและส่วนรวมที่ตนเกี่ยวข้อง นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการจึงควรจะมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q.
ต้น พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538-2539 ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
พ.ศ. 2540-2544 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชีวิตส่วนตัว
คือ ชีวิต คือ ความคิด คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นักการเมืองน้ำดี (พ.ศ. 2547)
มาร์ค เขาชื่อ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พ.ศ. 2548)
การเมืองไทยหลังรัฐประหาร (พ.ศ. 2549)
เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไร ไม่ถูกฉีก (พ.ศ. 2550)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น