วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550


จี-จูเนียร์ (G-Jr) กลุ่มศิลปิน จาก ค่าย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกผลงานเพลงครั้งเเรก เมื่อปี พ.ศ. 2549 ใช้ชื่ออัลบั้มว่า "G-Jr (10 Club)"

สมาชิกในกลุ่ม

จี-จูเนียร์ ประวัติ

ซิงเกิล

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ
ค้นหา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ATC รหัส D
ส่วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System)

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย ( ทองคำ ณ ราชสีมา ) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ทรงเป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย
พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงพระปรีชาในด้านงานช่าง ทรงร่วมรับหน้าที่บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมเกียรติพระองค์ ทรงกรมเป็น กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ผู้บังคับการกรมช่างมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ทรงบังคับบัญชางานช่างต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน พระราชวังบางปะอิน สวนสราญรมย์ ทรงรับผิดชอบงานโยธาในการก่อสร้าง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ และได้ทอดพระเนตรภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ในปีต่อมา ทรงตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ทรงจัดซื้อเครื่องซีเนมาโตกราฟฟี ซึ่งเป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ กลับมาเมืองไทยด้วย ภาพบันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นับเป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดในโลกที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชาติไทย
ภาพ:100yr_thaifilm1.jpgภาพ:100yr_thaifilm2.jpgภาพ:100yr_thaifilm3.jpgภาพ:100yr_thaifilm4.jpg
ภาพแสตมป์ที่ระลึก ๑๐๐ ปี ภาพยนตร์ไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๔๐
กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์เบ็ดเตล็ด ทั้งในและนอกเขตพระราชวัง จนถึงภาพพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชน ที่บริเวณวังสรรพสาตรศุภกิจ และในงานออกร้านประจำปีวัดเบญจมบพิตร นับว่าทรงเป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย
พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงประทับอยู่ที่วังสรรพสาตรศุภกิจ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ วังนี้ถูกไฟไหม้หมดจนเหลือแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ และมีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทน ปัจจุบันย่านนี้เรียกว่า แพร่งสรรพศาสตร์
พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงได้รับเฉลิมพระเกียรติเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการตำแหน่งสุดท้ายเป็น นายพันเอกราชองครักษ์ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ พระชนมายุได้ ๖๒ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองแถม และทรงมีเชื้อสายที่ไม่ได้นับเป็นราชสกุล คือสกุล ทองเจือ และ สุวรรณรัฐ

กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระโอรส-ธิดา
หม่อมเจ้าเม้า รองทรง พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารองทรง กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ ราชสกุลวังหน้าในรัชกาลที่ ๒

หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๗๖) เษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๓๓-๒๔๙๑) เษกสมรสกับ หม่อมหลวงแฉล้ม
หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๓๕-?) เษกสมรส
หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๕๐๑) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าหญิงทองบรรณาการ ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๔๖-ปัจจุบัน?) เษกสมรส หม่อมเจ้าเม้า รองทรง

หม่อมเจ้าหญิงเครือมาศวิมล ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๒) หม่อมราชวงศ์เกษรสุมาลี อิศรางกูร
ธิดาในหม่อมเจ้าตุ้ม อิศรางกูร น้องสาวหม่อมราชวงศ์เกษรสุมาลี อิศรางกูร





หม่อมเจ้าหญิงกนกนารี ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๕๑๑)

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ไนกี
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย แยกต
ค้นหา รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย แยกต ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย แยกต
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย แยกต ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตตลิ่งชันเดิมเป็นอำเภอเก่าแก่อยู่ในพื้นที่การปกครองของจังหวัดธนบุรี แต่ปัจจุบันธนบุรีได้รวมอยู่กับกรุงเทพมหานครแล้ว ในปี พ.ศ. 2541 พื้นที่เขตทางทิศตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษกได้ถูกแบ่งและจัดตั้งเป็นเขตใหม่ คือเขตทวีวัฒนา ทุกวันนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตก็ยังคงเป็นพื้นที่เกษตร ได้แก่ สวนผัก สวนผลไม้ แต่ก็เริ่มที่จะมีการสร้างบ้านจัดสรรเข้ามาด้วย

เขตตลิ่งชัน การแบ่งเขตการปกครอง
ปัจจุบันในพื้นที่เขตตลิ่งชันมีทางสายหลักอยู่ 3 สาย คือ ถนนบรมราชชนนี ถนนคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี และถนนราชพฤกษ์
ส่วนทางสายรองนั้นมีอยู่ทั่วไป และเข้าถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขต ได้แก่ ถนนฉิมพลี ถนนทุ่งมังกร ถนนสวนผัก ถนนบางพรม ถนนชักพระ ถนนบางระมาด ถนนวัดอินทราวาส ถนนบางเชือกหนัง ถนนแก้วเงินทอง ถนนชัยพฤกษ์ และถนนปากน้ำกระโจมทอง ซึ่งตามริมถนนทั้งสายหลักและรองดังกล่าวก็ยังมีตรอกซอกซอยแยกย่อยออกไปอีก

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นันทนาการ
นันทนาการ (Recreation) คือ กิจกรรมที่สมัครใจทำในยามว่าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ นันทนาการ การเล่น และความสนุกสนาน ไม่สงวนไว้แต่มนุษย์ แต่พบได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด การเล่นช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ โดยเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหวในสิ่งมีชีวิตวัยเยาว์
สำหรับมนุษย์ กิจกรรมนันทนาการมักเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ และวันหยุด ประกอบด้วย ดนตรี การเต้นรำ กีฬา งานอดิเรก เกม และการท่องเที่ยว การดูโทรทัศน์ และฟังเพลง เป็นรูปแบบสามัญของนันทนาการ