วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550


อาร์เจนตินา (Argentina) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก

ประวัติศาสตร์
ระบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข การแบ่งเขตบริหาร แบ่งเป็น 23 จังหวัด (Provinces) และ 1 เขตเมืองหลวงสหพันธ์
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
พรรคการเมืองสำคัญ พรรค Peronist (Justicialist Party) ของประธานาธิบดี Kirchner พรรค Radical Civic Union (UCR) และ พรรค Union of the Democratic Centre เป็นต้น

วุฒิสภา มีสมาชิก 72 คน มาจากการเลือกตั้งจากแต่ละจังหวัดและเขตเมืองหลวงสหพันธ์ เขตละ 3 คน มีวาระ 6 ปี
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 257 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุกสองปี ฝ่ายตุลาการ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงจำนวน 9 คน โดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา การเมือง

นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน

ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
แก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
สร้างความโปร่งใสของภาครัฐ
ปรับปรุงและให้ความสำคัญกับระบบการให้บริการของภาครัฐ
ทบทวนแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่มากขึ้น นโยบายการเมือง
ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้ง การเพิ่มความหลากหลายของสินค้าจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าด้านเกษตรกรรม ให้มีสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น และกำลังพิจารณาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (center of distribution) 25 เมืองทั่วโลก นอกจากนั้น รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการส่งออกซึ่งนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียน

การเปิดเสรีการค้า
การมีบทบาทสำคัญในกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR)
ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
นโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญคือ ส่งเสริมการส่งออกและวิสาหกิจ นโยบายเศรษฐกิจ

เน้นการบูรณาการและสร้างความเป็นพันธมิตรและการร่วมมือใน MERCOSUR และภูมิภาคอเมริกา โดยเฉพาะการมีบทบาทนำในการกระชับความร่วมมือและเสริมสร้างอำนาจต่อรองของกลุ่ม MERCOSUR
ดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่จริงจัง กว้างขวาง และรอบคอบ
การขยายตลาดและความร่วมมือไปยังเอเชีย โดยเฉพาะจีน เพื่อลดการพึ่งพิงตลาดดั้งเดิม (สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป)
กระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ โดยไม่เลือกระบอบการปกครอง
ยืนยันการคัดค้านการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ของสหราชอาณาจักรโดยสันติวิธี นโยบายต่างประเทศ

สถานการณ์ที่สำคัญ
ประธานาธิบดี Kirchner ยังคงมีสถานะทางการเมืองที่มั่นคง พรรค Peronist มีเสียง ข้างมากในรัฐสภา แต่ประสบปัญหาการแตกแยกภายในพรรค ทำให้นาย Kirshner ต้องบริหารประเทศอย่างยืดหยุ่น เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มการเมืองของอดีตประธานาธิบดี Carlos Menem และ ของอดีตประธานาธิบดี Eduardo Duhalde ควบคู่ไปกับการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การดำเนินนโยบายเสรีทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงระบบการให้บริการของภาครัฐ การปราบปรามการ ฉ้อราษฎร์บังหลวง และการโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประท้วงในบางกรณี ทั้งนี้ เพื่อรักษาระดับความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล

สถานะทางการเมืองของประธานาธิบดี
อาร์เจนตินาได้จัดการเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2548 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนครึ่งหนึ่ง (127 จาก 257 ที่นั่ง) และวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งในสาม (24 จาก 72 ที่นั่ง) มีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนร้อยละ 70.99 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยพรรค Frente para la Victoria (Front for Victory) ของนาย Kirchner ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และจากผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ นาย Kirchner ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคมากขึ้น โดยมีเสียงข้างมากในวุฒิสภา (42 จาก 72 ที่นั่ง) และเป็นพรรคใหญ่ที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร (109 จาก 257 ที่นั่ง) ทั้งนี้ นาย Rafael Bielsa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกรุงบัวโนสไอเรส โดยได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับ 3 การที่พรรค Front for Victory (ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของพรรค Peronist) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แสดงถึงการสนับสนุนของประชาชนส่วนใหญ่ต่อนาย Kirchner และนโยบายต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา เช่น การสนับสนุนรัฐสภาให้กดดันผู้พิพากษาศาลสูงสุด 3-4 คนที่ประธานาธิบดี Menem แต่งตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองให้ลาออก การปรับเปลี่ยนผู้นำทางทหารที่มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงที่รัฐบาลทหารปกครองประเทศ รวมทั้งนโยบายการเจรจาอย่างแข็งกร้าวกับ IMF และประเทศเจ้าหนี้

อาร์เจนตินา การเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ
อาร์เจนตินาประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงที่สุดเมื่อปี 2543 - 2545 หลังจาก เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี สาเหตุสำคัญมาจากภาวะชะงักงันของเงินทุน ต่างประเทศ การขาดดุลการคลัง และดุลการค้า และความพยายามของรัฐบาลที่จะรักษาระดับอัตรา แลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ระดับ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้นเศรษฐกิจของ อาร์เจนตินายังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งการระงับการจ่ายหนี้สินต่างประเทศ และการลดค่าเงินเปโซ
เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการขยายตัวของการส่งออกและการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นผลจากการลดค่าเงินเปโซ ซึ่งทำให้อาร์เจนตินาได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่รัฐบาลอาร์เจนตินาสามารถผลักดันนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการว่างงาน และการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าภายในประเทศ ล่าสุดนิตยสารด้านการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารโลก ได้จัดลำดับให้อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดอันดับ 77 ของโลก

การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำหรับประเด็นการชำระหนี้ IMF เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ประธานาธิบดี Kirchner ได้ตัดสินใจชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อ IMF ทั้งหมด โดยใช้เงินคงคลัง (reserves) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาชำระหนี้ที่มีต่อ IMF ซึ่งประธานาธิบดี Kirchner แถลงว่าการได้ดุลบัญชีเงินคงคลังและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อาร์เจนตินาสามารถชำระหนี้ได้ก่อนกำหนด และการชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะทำให้อาร์เจนตินามีอิสรภาพที่จะตัดสินใจดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่ IMF กำหนดไว้ในการเจรจาชำระหนี้ครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งการประกาศดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก

ในการดำเนินธุรกิจ =
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (SENASA) ของอาร์เจนตินาได้ประกาศการตรวจพบวัวจำนวน 70 ตัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในฟาร์มแห่งหนึ่งที่เมืองซานลูอิสเดลปาร์มาร์ (San Luis del Palmar) ในจังหวัดกอร์รีเอนเตสที่ตั้งทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา โดยผู้เชี่ยวชาญของ SENASA คาดว่าจะมีวัว 3,000 ตัวในบริเวณดังกล่าวที่อาจได้รับเชื้อโรค ทั้งนี้ วัวทั้ง 70 ตัวที่ติดเชื้อจะถูกกำจัดและ SENASA กำลังเร่งดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประกาศดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางการชิลีและบราซิลได้ประกาศยกเลิกการนำเข้าเนื้อวัวจากอาร์เจนตินาชั่วคราว และเร่งดำเนินมาตรการป้องการการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซิลและอุรุกวัยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อวัวที่สำคัญ ทั้งนี้ ได้เคยเกิดการแพร่ระบาดของโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2544 ส่งผลให้อาร์เจนตินาซึ่งเป็นผู้ส่งออกเนื้อวัวรายสำคัญของโลกต้องสูญเสียการส่งออกจำนวนมาก แต่หลังจากที่ได้พยายามควบคุมโรคและฉีดวัคซีนป้องกันโรคในวัว อาร์เจนตินาสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ทำให้มูลค่าการส่งออกเนื้อวัวของอาร์เจนตินาในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3 เท่าของมูลค่าการส่งออกในปี 2544

การตรวจพบวัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินา

อ าร์เจนตินามีบทบาทที่แข็งขันในสหประชาชาติโดยเฉพาะการสนับสนุนการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) เพื่อให้มีระบบการตัดสินใจที่โปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยส่งทหารไปร่วมปฏิบัติภารกิจ 7 แห่ง ได้แก่ เฮติ ไซปรัส โคโซโว ตะวันออกกลาง คองโก ซาฮาราตะวันตกและติมอร์ตะวันออก อาร์เจนตินามีศูนย์ฝึกอบรมสำหรับทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่จะร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ 2 แห่ง คือ Training Center for Blue Helmets (CAECOPAZ) ควบคุมโดยกองทัพอาร์เจนตินา และ Training Center for Members of Peace Missions Abroad (CENCAMEX) ควบคุมโดยกองกำลังตำรวจแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda) และศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (International Tribunals for the Former Yugoslavia)
อาร์เจนตินาได้รับเลือกเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC สำหรับปี 2548 ? 2549 โดยดำรงตำแหน่งประธาน UNSC (ซึ่งจะหมุนเวียนทุกเดือนโดยเรียงตามตัวอักษรประเทศ) ในเดือนมกราคม 2548 และเดือนเมษายน 2549
อาร์เจนตินาเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ African Union ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2545 และให้ความสำคัญในการร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกับแอฟริกา โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สันติภาพและการพัฒนา หน่วยงานของอาร์เจนตินา 2 แห่ง คือ Fund for Cooperation and Development (FO-AR) และ White Helmet ได้ให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศในแอฟริกา อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในด้านการเกษตร เหมืองแร่ในประเทศต่างๆ อาทิ อังโกลา และโมซัมบิก การฝึกสอนฟุตบอล การส่งทหารและแพทย์ไปร่วมในคณะรักษาสันติภาพที่โกตดิวัวร์และคองโก เป็นต้น
อาร์เจนตินาเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับประเทศพัฒนาแล้วในกรอบ G20 และ WTO เพื่อให้สหรัฐฯ และ EU ยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตรทั้งหมด การแบ่งเขตการปกครอง
(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

เศรษฐกิจ
ประชากรของอาร์เจนตินาส่วนใหญ่จะสืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป [2] (97% ของประชากร) โดยส่วนใหญ่มาจากสเปน อิตาลี เยอรมัน และอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น: