วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
เทือกเขาอัลไต เป็นเทือกเขาในเอเชียกลาง บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน และยังเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำอิร์ทีช (Irtysh) แม่น้ำโอบ (Ob) และแม่น้ำเยนิไซ (Yenisei) ด้วย ส่วนปลายทางตะวันตกเฮียงเหนือของเทือกเขา อยู่ที่พิกัด 52 องศาเหนือ กับระหว่าง 84 และ 90 องศาตะวันออก (ซึ่งไปจรดกลืนเขากับเทือกเขาสายัน (Sayan Mountains) ทางตะวันออก) และทอดยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงพิกัด 45 องศาเหนือ 99 องศาตะวันออก แล้วค่อยๆ ต่ำลง กลืนเข้ากับที่ราบสูงแห่งทะเลทรายโกบี
ชื่อ อัลไท ในภาษาตุรกี สะกด "Alytau" หรือ "Altay" มาจากศัพท์ Al (ทองคำ) และ tau (ภูเขา) ในภาษามองโกเลีย เรียกว่า อัลทาอิน-อูลา หมายถึง เทือกเขาแห่งทองคำ เทือกเขาแห่งนี้ ยังมีชื่อเรียกว่า เอก-ทัค (Ek-tagh),อัลไตแห่งมองโกล (Mongolian Altai) อัลไตใหญ่ (Great Altai) และอัลไตใต้ (Southern Altai)
เทือกเขาอัลไตยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไทย เนื่องจากเคยเชื่อกันว่า เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของชาวไทยสมัยโบราณ ก่อนจะอพยพลงมาจนถึงบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาเช่นนี้ปรากฏในตำราเรียน หรือหนังสือด้านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง
วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550
วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เคยเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญที่สุดในกรุงศรีอยุธยา เพราะนอกจากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุกลางเมืองแล้ว ยังเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้าง และ ดูแลตลอดเวลา
ประวัติ
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่เก่าแก่และมีประวัติที่ไม่ค่อยจะชัดเจน บางฉบับบอกว่า ในปี พ.ศ. 1917 บางฉบับก็บอก พ.ศ. 1927 แต่อย่างไรก็ตาม ได้ใช้เวลาก่อสร้างไปเป็นจำนวนมาก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550
แทนซาเนีย หรือ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (ภาษาอังกฤษ: United Republic of Tanzania, ภาษาสวาฮีลี: Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จด แซมเบีย มาลาวี และโมแซมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยิกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนแกนยิกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อพ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม
ดินแดน: เซนต์เฮเลนา (สหราชอาณาจักร) · โซมาลิแลนด์ ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากประชาคมโลก แต่เป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา
กานา · กายอานา · เกรเนดา · แกมเบีย · คิริบาส · เคนยา · แคเมอรูน · แคนาดา · จาเมกา · ซามัว · เซเชลส์ · เซนต์คิตส์และเนวิส · เซนต์ลูเซีย · เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ · เซียร์ราลีโอน · แซมเบีย · โดมินิกา · ตรินิแดดและโตเบโก · ตองกา · ตูวาลู · แทนซาเนีย · โมซัมบิก · ไซปรัส · ไนจีเรีย · นามิเบีย · นาอูรู · นิวซีแลนด์ · บรูไน · บอตสวานา · บังกลาเทศ · บาร์เบโดส · บาฮามาส · เบลีซ · ปากีสถาน · ปาปัวนิวกินี · ฟิจิ · มอริเชียส · มอลตา · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · มาลาวี · ยูกันดา · เลโซโท · วานูอาตู · ศรีลังกา · สวาซิแลนด์ · สหราชอาณาจักร · สิงคโปร์ · หมู่เกาะโซโลมอน · ออสเตรเลีย · อินเดีย · แอนติกาและบาร์บูดา · แอฟริกาใต้
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550
วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550
คุณ ฉันทนา ธาราจันทร์ หรือ น้าติ๋ม เป็นนักพากย์การ์ตูนชาวไทยที่มีชื่อเสียง ทำงานด้านการพากย์เสียงมานานกว่า 30 ปี ผลงานการพากย์เรื่องแรก คือ "ไทรตัน ลูกทะเล" แต่บทที่ทำให้ชื่อเสียงของเธอเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ โดราเอมอน ปัจจุบันน้าติ๋มพากย์การ์ตูนให้กับทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และ Rose Video เป็นต้น
แอนิเมชัน
เจ็ทแมน (วีดีโอสแควร์) พาทย์เสียงของ ไวท์สวอน
กาโอเรนเจอร์ (Rose) พากย์เสียงของ เทโทมุ และ สึเอะสึเอะ
เฮอร์ริเคนเจอร์ (Rose) พากย์เสียงเป็น ฮินาตะ โอโบโระ (ป้าโอโบโระ) และ เวนดีน
อาบะเรนเจอร์ (Rose) พากย์เสียงของ อิมานากะ เอมิริ (เอมิต๊อง) และ แจนนุ/มาโฮโระ
ขบวนการมือปราบผู้พิทักษ์ เดกะเรนเจอร์ (Rose) พากย์เสียงของ ชิราโทริ สวอน / เดกะสอวน
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550
วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550
ประวัติ
สำเนียงที่สำคัญมี 4 สำเนียงคือ สำเนียง Yuehai ใช้พูดในกวางโจว ฮ่องกง และมาเก๊า สำเนียงไถ่ซาน ใช้พูดในไชน่าทาวน์ในสหรัฐก่อน พ.ศ. 2513 สำเนียง Gaoyan ใช้พูดใน Yanjiang และสำเนียง Guinan ใช้พูดในกวางสี โดยทั่วไป สำเนียงที่สำคัญที่สุดคือ สำเนียง Yuehai
สัทวิทยา
โดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรจีนแบบเดียวกับภาษาจีนกลางแต่อ่านออกเสียงแบบภาษาจีนกวางตุ้ง มีการพัฒนาระบบการเขียนของภาษาจีนกวางตุ้งโดยเฉพาะในฮ่องกง มีการใช้อักษรที่แปลกไปจากภาษาจีนกลาง
สำเนียงที่สำคัญมี 4 สำเนียงคือ สำเนียง Yuehai ใช้พูดในกวางโจว ฮ่องกง และมาเก๊า สำเนียงไถ่ซาน ใช้พูดในไชน่าทาวน์ในสหรัฐก่อน พ.ศ. 2513 สำเนียง Gaoyan ใช้พูดใน Yanjiang และสำเนียง Guinan ใช้พูดในกวางสี โดยทั่วไป สำเนียงที่สำคัญที่สุดคือ สำเนียง Yuehai
สัทวิทยา
โดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรจีนแบบเดียวกับภาษาจีนกลางแต่อ่านออกเสียงแบบภาษาจีนกวางตุ้ง มีการพัฒนาระบบการเขียนของภาษาจีนกวางตุ้งโดยเฉพาะในฮ่องกง มีการใช้อักษรที่แปลกไปจากภาษาจีนกลาง
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550
วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550
อาร์เจนตินา (Argentina) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก
ประวัติศาสตร์
ระบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข การแบ่งเขตบริหาร แบ่งเป็น 23 จังหวัด (Provinces) และ 1 เขตเมืองหลวงสหพันธ์
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
พรรคการเมืองสำคัญ พรรค Peronist (Justicialist Party) ของประธานาธิบดี Kirchner พรรค Radical Civic Union (UCR) และ พรรค Union of the Democratic Centre เป็นต้น
วุฒิสภา มีสมาชิก 72 คน มาจากการเลือกตั้งจากแต่ละจังหวัดและเขตเมืองหลวงสหพันธ์ เขตละ 3 คน มีวาระ 6 ปี
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 257 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุกสองปี ฝ่ายตุลาการ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงจำนวน 9 คน โดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา การเมือง
นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
แก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
สร้างความโปร่งใสของภาครัฐ
ปรับปรุงและให้ความสำคัญกับระบบการให้บริการของภาครัฐ
ทบทวนแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่มากขึ้น นโยบายการเมือง
ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้ง การเพิ่มความหลากหลายของสินค้าจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าด้านเกษตรกรรม ให้มีสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น และกำลังพิจารณาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (center of distribution) 25 เมืองทั่วโลก นอกจากนั้น รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการส่งออกซึ่งนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียน
การเปิดเสรีการค้า
การมีบทบาทสำคัญในกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR)
ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
นโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญคือ ส่งเสริมการส่งออกและวิสาหกิจ นโยบายเศรษฐกิจ
เน้นการบูรณาการและสร้างความเป็นพันธมิตรและการร่วมมือใน MERCOSUR และภูมิภาคอเมริกา โดยเฉพาะการมีบทบาทนำในการกระชับความร่วมมือและเสริมสร้างอำนาจต่อรองของกลุ่ม MERCOSUR
ดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่จริงจัง กว้างขวาง และรอบคอบ
การขยายตลาดและความร่วมมือไปยังเอเชีย โดยเฉพาะจีน เพื่อลดการพึ่งพิงตลาดดั้งเดิม (สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป)
กระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ โดยไม่เลือกระบอบการปกครอง
ยืนยันการคัดค้านการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ของสหราชอาณาจักรโดยสันติวิธี นโยบายต่างประเทศ
สถานการณ์ที่สำคัญ
ประธานาธิบดี Kirchner ยังคงมีสถานะทางการเมืองที่มั่นคง พรรค Peronist มีเสียง ข้างมากในรัฐสภา แต่ประสบปัญหาการแตกแยกภายในพรรค ทำให้นาย Kirshner ต้องบริหารประเทศอย่างยืดหยุ่น เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มการเมืองของอดีตประธานาธิบดี Carlos Menem และ ของอดีตประธานาธิบดี Eduardo Duhalde ควบคู่ไปกับการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การดำเนินนโยบายเสรีทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงระบบการให้บริการของภาครัฐ การปราบปรามการ ฉ้อราษฎร์บังหลวง และการโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประท้วงในบางกรณี ทั้งนี้ เพื่อรักษาระดับความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล
สถานะทางการเมืองของประธานาธิบดี
อาร์เจนตินาได้จัดการเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2548 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนครึ่งหนึ่ง (127 จาก 257 ที่นั่ง) และวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งในสาม (24 จาก 72 ที่นั่ง) มีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนร้อยละ 70.99 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยพรรค Frente para la Victoria (Front for Victory) ของนาย Kirchner ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และจากผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ นาย Kirchner ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคมากขึ้น โดยมีเสียงข้างมากในวุฒิสภา (42 จาก 72 ที่นั่ง) และเป็นพรรคใหญ่ที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร (109 จาก 257 ที่นั่ง) ทั้งนี้ นาย Rafael Bielsa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกรุงบัวโนสไอเรส โดยได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับ 3 การที่พรรค Front for Victory (ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของพรรค Peronist) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แสดงถึงการสนับสนุนของประชาชนส่วนใหญ่ต่อนาย Kirchner และนโยบายต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา เช่น การสนับสนุนรัฐสภาให้กดดันผู้พิพากษาศาลสูงสุด 3-4 คนที่ประธานาธิบดี Menem แต่งตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองให้ลาออก การปรับเปลี่ยนผู้นำทางทหารที่มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงที่รัฐบาลทหารปกครองประเทศ รวมทั้งนโยบายการเจรจาอย่างแข็งกร้าวกับ IMF และประเทศเจ้าหนี้
การเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ
อาร์เจนตินาประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงที่สุดเมื่อปี 2543 - 2545 หลังจาก เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี สาเหตุสำคัญมาจากภาวะชะงักงันของเงินทุน ต่างประเทศ การขาดดุลการคลัง และดุลการค้า และความพยายามของรัฐบาลที่จะรักษาระดับอัตรา แลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ระดับ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้นเศรษฐกิจของ อาร์เจนตินายังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งการระงับการจ่ายหนี้สินต่างประเทศ และการลดค่าเงินเปโซ
เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการขยายตัวของการส่งออกและการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นผลจากการลดค่าเงินเปโซ ซึ่งทำให้อาร์เจนตินาได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่รัฐบาลอาร์เจนตินาสามารถผลักดันนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการว่างงาน และการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าภายในประเทศ ล่าสุดนิตยสารด้านการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารโลก ได้จัดลำดับให้อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดอันดับ 77 ของโลก
การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำหรับประเด็นการชำระหนี้ IMF เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ประธานาธิบดี Kirchner ได้ตัดสินใจชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อ IMF ทั้งหมด โดยใช้เงินคงคลัง (reserves) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาชำระหนี้ที่มีต่อ IMF ซึ่งประธานาธิบดี Kirchner แถลงว่าการได้ดุลบัญชีเงินคงคลังและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อาร์เจนตินาสามารถชำระหนี้ได้ก่อนกำหนด และการชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะทำให้อาร์เจนตินามีอิสรภาพที่จะตัดสินใจดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่ IMF กำหนดไว้ในการเจรจาชำระหนี้ครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งการประกาศดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก
ในการดำเนินธุรกิจ =
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (SENASA) ของอาร์เจนตินาได้ประกาศการตรวจพบวัวจำนวน 70 ตัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในฟาร์มแห่งหนึ่งที่เมืองซานลูอิสเดลปาร์มาร์ (San Luis del Palmar) ในจังหวัดกอร์รีเอนเตสที่ตั้งทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา โดยผู้เชี่ยวชาญของ SENASA คาดว่าจะมีวัว 3,000 ตัวในบริเวณดังกล่าวที่อาจได้รับเชื้อโรค ทั้งนี้ วัวทั้ง 70 ตัวที่ติดเชื้อจะถูกกำจัดและ SENASA กำลังเร่งดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประกาศดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางการชิลีและบราซิลได้ประกาศยกเลิกการนำเข้าเนื้อวัวจากอาร์เจนตินาชั่วคราว และเร่งดำเนินมาตรการป้องการการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซิลและอุรุกวัยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อวัวที่สำคัญ ทั้งนี้ ได้เคยเกิดการแพร่ระบาดของโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2544 ส่งผลให้อาร์เจนตินาซึ่งเป็นผู้ส่งออกเนื้อวัวรายสำคัญของโลกต้องสูญเสียการส่งออกจำนวนมาก แต่หลังจากที่ได้พยายามควบคุมโรคและฉีดวัคซีนป้องกันโรคในวัว อาร์เจนตินาสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ทำให้มูลค่าการส่งออกเนื้อวัวของอาร์เจนตินาในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3 เท่าของมูลค่าการส่งออกในปี 2544
การตรวจพบวัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินา
อ าร์เจนตินามีบทบาทที่แข็งขันในสหประชาชาติโดยเฉพาะการสนับสนุนการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) เพื่อให้มีระบบการตัดสินใจที่โปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยส่งทหารไปร่วมปฏิบัติภารกิจ 7 แห่ง ได้แก่ เฮติ ไซปรัส โคโซโว ตะวันออกกลาง คองโก ซาฮาราตะวันตกและติมอร์ตะวันออก อาร์เจนตินามีศูนย์ฝึกอบรมสำหรับทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่จะร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ 2 แห่ง คือ Training Center for Blue Helmets (CAECOPAZ) ควบคุมโดยกองทัพอาร์เจนตินา และ Training Center for Members of Peace Missions Abroad (CENCAMEX) ควบคุมโดยกองกำลังตำรวจแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda) และศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (International Tribunals for the Former Yugoslavia)
อาร์เจนตินาได้รับเลือกเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC สำหรับปี 2548 ? 2549 โดยดำรงตำแหน่งประธาน UNSC (ซึ่งจะหมุนเวียนทุกเดือนโดยเรียงตามตัวอักษรประเทศ) ในเดือนมกราคม 2548 และเดือนเมษายน 2549
อาร์เจนตินาเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ African Union ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2545 และให้ความสำคัญในการร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกับแอฟริกา โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สันติภาพและการพัฒนา หน่วยงานของอาร์เจนตินา 2 แห่ง คือ Fund for Cooperation and Development (FO-AR) และ White Helmet ได้ให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศในแอฟริกา อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในด้านการเกษตร เหมืองแร่ในประเทศต่างๆ อาทิ อังโกลา และโมซัมบิก การฝึกสอนฟุตบอล การส่งทหารและแพทย์ไปร่วมในคณะรักษาสันติภาพที่โกตดิวัวร์และคองโก เป็นต้น
อาร์เจนตินาเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับประเทศพัฒนาแล้วในกรอบ G20 และ WTO เพื่อให้สหรัฐฯ และ EU ยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตรทั้งหมด การแบ่งเขตการปกครอง
(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
เศรษฐกิจ
ประชากรของอาร์เจนตินาส่วนใหญ่จะสืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป [2] (97% ของประชากร) โดยส่วนใหญ่มาจากสเปน อิตาลี เยอรมัน และอื่น ๆ
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550
Homostelea
Homoiostelea
Stylophora
Ctenocystoidea Robison & Sprinkle, 1969
Crinoidea
Eocrinoidea Jaekel, 1899
Paracrinoidea Regnéll, 1945
Cystoidea von Buch, 1846
Ophiuroidea
Asteroidea
Echinoidea
Holothuroidea
Ophiocistioidea
Helicoplacoidea †
Arkarua †
Homalozoa †
Edrioasteroidea†
Cystoidea †
Eocrinoidea †
Edriaosteroidea †
† = extinct
เอไคโนดอร์มาทา (Echinodermata) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสมาชิกได้แก่ ดาวทะเล ดาวเปราะ ปลิงทะเล เม่นทะเล พลับพลึงทะเลและเหรียญทะเล พบเฉพาะในทะเล ชื่อของไฟลัมหมายถึง "สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นหนาม" แต่ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่มีโครงร่างภายนอก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นหินปูน ทำให้ผิวลำตัวมักมีหนามรูปร่างต่างๆกัน เคลื่อนที่โดยใช้เท้าต่อ หายใจโดยใช้ปุ่มตามผิวหนัง หรือใช้ช่องเหงือกทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเล ดำรงชีวิตเป็นสัตว์หน้าดิน
Homalozoa Gill & Caster, 1960
Crinozoa
Asterozoa
Echinozoa
Pelmatozoa
Blastozoa † ลักษณะสำคัญ
สัตว์ในไฟลัมนี้เป็นพวก Deuterostome มีช่องลำตัวแท้จริงซึ่งเกิดจากการแบ่งตัวมาจาก mesoderm สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถเคลื่อนที่ได้ดี แต่ช้าๆ โดยการใช้เครือข่ายแรงดันภายในระบบท่อน้ำ ซึ่งระบบท่อน้ำนี้พัฒนามาจาก coelom และยังทำหน้าที่หายใจ กินอาหาร สืบพันธุ์และหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนในร่างกาย
ตัวอ่อนของสัตว์ไฟลัมนี้มีสมมาตรแบบ 2 ส่วนเท่ากัน แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีสมมาตรแบบทรงรัศมี 5 แฉก การขับถ่าย และหัวใจไม่ชัดเจน เศษอาหารปล่อยออกทางปาก ระบบประสาทเป็น เส้นประสาทแบบวงแหวน อย่างง่ายๆ
วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550
ตัวละครใน ซันวัลคัน
โอวาชิ ริวสุเกะ / วัลอีเกิ้ล (คนแรก)
ฮิบะ ทากายูกิ / วัลอีเกิ้ล (คนที่ 2)
ซาเมจิมะ คินยะ / วัลชาร์ค
เฮียว อาซาโอะ / วัลแพนเธอร์ ตัวละครหลัก
อาราชิยามะ ไดซาบุโร่
อาราชิยามะ มิสะ
ซีซี ตัวละครอื่นๆ
วัลคันเบรช
วัลคันสติ๊ก
วัลคันบอล
นิว วันคัลบอล
อุปกรณ์และอาวุธต่างๆของซันวัลคัน
ซันวัลคัล โรโบ
โอวาชิ ริวสุเกะ / วัลอีเกิ้ล (คนแรก)
ฮิบะ ทากายูกิ / วัลอีเกิ้ล (คนที่ 2)
ซาเมจิมะ คินยะ / วัลชาร์ค
เฮียว อาซาโอะ / วัลแพนเธอร์ ตัวละครหลัก
อาราชิยามะ ไดซาบุโร่
อาราชิยามะ มิสะ
ซีซี ตัวละครอื่นๆ
วัลคันเบรช
วัลคันสติ๊ก
วัลคันบอล
นิว วันคัลบอล
อุปกรณ์และอาวุธต่างๆของซันวัลคัน
ซันวัลคัล โรโบ
- คอสโมวัลคัล
บลูวัลคัล
อาวุธ = ดาบพระอาทิตย์ ,วัลทอนฟา,วัลชิลด์,วัลแฮนด์ ,วัลคัลแคนน่อน
ท่าไม้ตาย = ออร่าพลาสม่า ,วัลคันซัน(ปล่อยแสงเป็นรูป V ใส่ศัตรู)
จากัวร์วัลคัล ยานแม่ที่ใช้บรรทุกยานคอมโมและบลู สามารถกัดยานของศัตรู หรือ ปล่อยมิซไซส์ได้
จักรวรรดิ์จักรกล แบล็คแม๊กม่า
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550
รายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน (List of standard amino acids)
สูตรโครงสร้างและสัญญลักษณ์และรหัสพันธุกรรม(genetic code)ของ กรดอะมิโน 20 ตัวเป็นดังนี้
แสดงเป็นตารางที่มีทั้งสัญญลักษณ์ 1 ตัวอักษร และ 3 ตัวอักษร และคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งแตกต่างกันไปตาม โซ่ข้าง (side chains) น้ำหนักโมเลกุล ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของไอโซโทปทั้งหมดรวมทั้งน้ำหนักของน้ำด้วย (H2O)
แสดงโดยศูตรโครงสร้าง (Structures)
แสดงรายชื่อกรดอะมิโนและคุณสมบัติทางเคมี (Chemical properties)
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี (17 มิถุนายน 2472 - 14 พฤษภาคม 2550) หรือชื่อเดิม ผ่องศรี พุ่มชูศรี รู้จักกันในชื่อเล่น ป้าโจ๊ว เป็นนักร้อง และครูสอนขับร้องเพลงไทยสากล เป็นนักร้องประจำวงดนตรีกรมโฆษณาการ หรือสุนทราภรณ์ ได้รับการคัดเลือกให้ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการบันทึกแผ่นเสียง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2534
ผลงานเพลง
เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง : ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และสุภร ผลชีวิน
ศีลห้า (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง-ทำนอง : ศิวะ วรนาฏ
ขวัญของเรียม (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง-ทำนอง : พรานบูรพ์
คนจะรักกัน (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง-ทำนอง : พยงค์ มุกดา
คนึงครวญ (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
ความรักเจ้าขา (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง : สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
เจ้าพระยาร้องไห้ (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง-ทำนอง : กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ
ไฟรัก (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง : ทำนอง :
ม่านไทรย้อย (file info) — เปิดฟัง
- ทำนอง : ปีเตอร์ ไชคอฟสกี้ คำร้อง : ไสล ไกรเลิศ ไวโอลิน-เรียบเรียง : สุทิน เทศารักษ์
รัตติกาล (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง-ทำนอง : ธีระศักดิ์ อัจจิมานนท์ ขับร้อง : สุเทพ วงศ์กำแหง, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
วิหคในกรงทอง (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง-ทำนอง : นคร มังคลายน
วิหคเหิรลม (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง : สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
แสงดาวแห่งศรัทธา (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง-ทำนอง : สุธรรม บุญรุ่ง (จิตร ภูมิศักดิ์)
หนามชีวิต (file info) — เปิดฟัง
- คำร้อง-ทำนอง : ไพบูลย์ บุตรขัน
- คำร้อง-ทำนอง : สุธรรม บุญรุ่ง (จิตร ภูมิศักดิ์)
- คำร้อง : สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
- คำร้อง-ทำนอง : นคร มังคลายน
- คำร้อง-ทำนอง : ธีระศักดิ์ อัจจิมานนท์ ขับร้อง : สุเทพ วงศ์กำแหง, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
- ทำนอง : ปีเตอร์ ไชคอฟสกี้ คำร้อง : ไสล ไกรเลิศ ไวโอลิน-เรียบเรียง : สุทิน เทศารักษ์
- คำร้อง : ทำนอง :
- คำร้อง-ทำนอง : กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ
- คำร้อง : สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
- คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
- คำร้อง-ทำนอง : พยงค์ มุกดา
- คำร้อง-ทำนอง : พรานบูรพ์
- คำร้อง-ทำนอง : ศิวะ วรนาฏ
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550
หลักการใช้ภาษาไทย
วิธีการอ่านคำอักษรนำในภาษาไทย
การอ่านอักษรนำ
อย่าอยู่อย่างอยาก
หากหวังไหม่มาก ลำบากเหลือหลาย
หนูแหวนหวือหวา จะหย่าอย่าอาย
หาแหวนหรือหวาย พ่อหม้ายใหญ่โต
คำใดที่มีอักษรสูงหรืออักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยวให้อ่านออกเสียง พยางค์หลัง ผันเสียงตามตัวนำ เช่น ตลอด (ตะ-หลอด) ไปตลาด (ตะ-หลาด) เยี่ยมฉลาด (ฉะ-หลาด) ฉลู (ฉะ-หลู) ดูตงิด (ตะ-หงิด) ชอบขนด (ขะ-หนด) จรด (จะ-หรด)
คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาล สันสกฤต เขมร ฯลฯ นำมาอ่านแบบอักษรนำตามอักขรวิธีของไทย เช่น ดิลก (ดิ-หลก) ชกอริ (อะ-หริ) ส่วนสิริ (สิ-หริ) มีกิเลส (กิ-เหลด) สลุต (สะ-หลุด)
การใช้ ห นำอักษรเดี่ยว หรือการใช้ อ นำ ย ไม่ต้องออกเสียง ห และ อ แต่ให้ออกเสียงกลืนกันไป ตามเสียงพยัญชนะตัวนำ เช่น
วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เกิดขึ้นเนื่องจาก___ ในช่วง___
การขึ้นสู่อำนาจของกอร์บาชอฟ
แม้ว่าการปฏิรูปก่อนหน้านั้นได้ล่าช้าลงในช่วงปี 1964-1982 แต่ว่าการที่คนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจแทนคนรุ่นเก่าก็ได้สร้างสภาวะที่เหมาะแก่การปฏิรูปขึ้นอีกครั้ง ความสัมพันธ์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังเป็นความจำเป็นหนึ่งของการปฏิรูป แม้ว่าประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ล้มเลิกนโยบายประนีประนอมหลังจากที่โซเวียตโจมตีอัฟกานิสถาน แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้ขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ขีปนาวุธที่เกาะคิวบา ในสมัยแรกของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน (1981-1985)
ในเวลานั้นเอง มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ก็ได้สนับสนุนนโยบายที่จะนำไปสู่การล่มสลายทางการเมืองของสหภาพโซเวียต โดยการควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก่อนหน้านั้นได้รับผลเสียจากอัตราเงินเฟ้อแฝงและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ
วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550
จังหวัดเกียวโตะ (「京都府」, Kyōto-fu, 京都府) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บนเกาะฮอนชู มีเมืองหลวงในชื่อเดียวกันคือเมืองเกียวโตะ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเกียวโตะเป็นที่ราบสลับหุบเขา ทิศเหนือติดกับทะเลญี่ปุ่น ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเฮียวโงะ ทิศใต้ติดกับจังหวัดโอซะกะ จังหวัดนารา ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดชิงะ จังหวัดฟูกูอิ ในเมืองเกียวโตะมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1,500,000 คน เมืองเกียวโตะ มีความสำคัญคือ เคยเป็นเมืองหลวงเก่า มีโบราณวัตถุมากมาย มีชื่อในการทำผ้าไหมและแพร
วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550
ประวัติ
อภิสิทธิ์เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (2535-2537) ในรัฐบาลชวน หลีกภัย
ในปี 2542 ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และในปี 2548 ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์จนถึงปัจจุบัน
บทบาททางการเมืองของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า จำลองแบบมาจากบุคลิกของนายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นที่น่าสังเกตมาก ว่าในปี 2549 พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ ได้เปิดเกมรุกในการนำเสนอนโยบายต่างๆอย่างชัดเจนในรูปของ "วาระประชาชน" มีการเปิดตัวนโยบายที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดรัฐประหารในวันที่19 กันยายน หลังจากไม่กี่วันก็มีการเปิดตัวเว็ปไซต์ใหม่ของอภิสิทธิ์ มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในเรื่องต่างๆอยู่เป็นประจำ
นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอภิสิทธิ์ว่า เป็นนักการเมืองพันธุ์ใหม่และเป็นพันธุ์ที่สังคมไทยต้องการ นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการจะต้องมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q. I.Q. (Intelligence Quotient) = มีพลังทางปัญญา E.Q. (Emotional Quotient) = มีพลัง หรือ วุฒิสภาวะทางอารมณ์ M.Q.(Moral Quotient) = มีพลังทางศีลธรรม สังคมปัจจุบันมีความเชื่อมโยง และสลับซับซ้อนมาก คนที่จะทำงานการเมืองจะต้องมีปัญญาเข้าใจความซับซ้อนเหล่านี้และต้องสามารถเรียนรู้ตลอดเวลาจึงจะทำงานได้ผล ผู้ใดจะมีปัญญาเท่าใดๆ แต่ถ้าขาดวุฒิสภาวะทางอารมณ์ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน คนที่ปราศจากศีลธรรม (M.Q.) ย่อมนำไปสู่ความล้มละลายทั้งส่วนตัวและส่วนรวมที่ตนเกี่ยวข้อง นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการจึงควรจะมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q.
ต้น พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538-2539 ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
พ.ศ. 2540-2544 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชีวิตส่วนตัว
คือ ชีวิต คือ ความคิด คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นักการเมืองน้ำดี (พ.ศ. 2547)
มาร์ค เขาชื่อ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พ.ศ. 2548)
การเมืองไทยหลังรัฐประหาร (พ.ศ. 2549)
เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไร ไม่ถูกฉีก (พ.ศ. 2550)
อภิสิทธิ์เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (2535-2537) ในรัฐบาลชวน หลีกภัย
ในปี 2542 ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และในปี 2548 ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์จนถึงปัจจุบัน
บทบาททางการเมืองของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า จำลองแบบมาจากบุคลิกของนายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นที่น่าสังเกตมาก ว่าในปี 2549 พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ ได้เปิดเกมรุกในการนำเสนอนโยบายต่างๆอย่างชัดเจนในรูปของ "วาระประชาชน" มีการเปิดตัวนโยบายที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดรัฐประหารในวันที่19 กันยายน หลังจากไม่กี่วันก็มีการเปิดตัวเว็ปไซต์ใหม่ของอภิสิทธิ์ มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในเรื่องต่างๆอยู่เป็นประจำ
นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอภิสิทธิ์ว่า เป็นนักการเมืองพันธุ์ใหม่และเป็นพันธุ์ที่สังคมไทยต้องการ นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการจะต้องมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q. I.Q. (Intelligence Quotient) = มีพลังทางปัญญา E.Q. (Emotional Quotient) = มีพลัง หรือ วุฒิสภาวะทางอารมณ์ M.Q.(Moral Quotient) = มีพลังทางศีลธรรม สังคมปัจจุบันมีความเชื่อมโยง และสลับซับซ้อนมาก คนที่จะทำงานการเมืองจะต้องมีปัญญาเข้าใจความซับซ้อนเหล่านี้และต้องสามารถเรียนรู้ตลอดเวลาจึงจะทำงานได้ผล ผู้ใดจะมีปัญญาเท่าใดๆ แต่ถ้าขาดวุฒิสภาวะทางอารมณ์ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน คนที่ปราศจากศีลธรรม (M.Q.) ย่อมนำไปสู่ความล้มละลายทั้งส่วนตัวและส่วนรวมที่ตนเกี่ยวข้อง นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการจึงควรจะมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q.
ต้น พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538-2539 ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
พ.ศ. 2540-2544 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชีวิตส่วนตัว
คือ ชีวิต คือ ความคิด คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นักการเมืองน้ำดี (พ.ศ. 2547)
มาร์ค เขาชื่อ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พ.ศ. 2548)
การเมืองไทยหลังรัฐประหาร (พ.ศ. 2549)
เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไร ไม่ถูกฉีก (พ.ศ. 2550)
วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2550
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจ
ค้นหา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจ ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจ
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจ ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา
วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550
วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550
ประพันธ์ นัยโกวิท เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 อดีตรองอัยการสูงสุด ปัจจุบันเป็นกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานด้านการบริหารการเลือกตั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ประวัติการศึกษา
การอบรมพิเศษ
นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนติบัณฑิตไทย
Master of Laws, Tulane University, ประเทศสหรัฐอเมริกา
หลักสูตรอัยการจังหวัด รุ่นที่ 1
หลักสูตร The Prevention of Crime and the Treatment of Offenders จากสถาบัน UNAFEI ประเทศญี่ปุ่น
หลักสูตรนักบริหารงานยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่1 สำนักงานอัยการสูงสุด
หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38
หลักสูตรสถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 5
วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550
วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550
ดิจิมอนแอดเวนเจอร์ (「デジモンアドベンチャー」, Dejimonadobenchā, – ทับศัพท์จาก Digimon Adventure) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์จากประเทศญี่ปุ่น ในชุดภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ดิจิตอลมอนสเตอร์ ออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเมื่อ มีนาคม ค.ศ. 1999 ดิจิมอนแอดเวนเจอร์เป็นภาคแรก ซึ่งมีภาคต่อมาคือ ดิจิมอนแอดเวนเจอร์ 02 ดิจิมอนเทมเมอร์ ดิจิมอนฟรอนเทียร์ และ ดิจิมอนเซฟเวอร์ส
ตัวละคร
เด็กชายชั้น ป. 5 มีอากุมอนเป็นดิจิมอนคู่หู ชอบเล่นฟุตบอลมาก รักน้องสาว เป็นผู้นำของกลุ่มในภาคแรก ผู้มีสัญลักษณ์แห่งความกล้า เป็นคนใจร้อน ชอบเล่นฟุตบอลมาก รักน้องสาว เป็นผู้นำของกลุ่มในภาคแรก ในภาค02 ไทจิเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาก เขาไม่อารมณ์ร้อนนักแต่ก็ยังมีบ้าง เป็นรุ่นพี่ที่พึ่งพาได้เสมอ และดูเหมือนว่าไทจิจะรู้เรื่องของโลกดิจิตอลเป็นคนแรก และได้มอบก็อกเกิลของของตัวเองให้ไดสุเกะ
เด็กชายชั้น ป.5 ผู้มีสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพ อาศัยอยู่กับพ่อ เป็นคนเงียบๆ และชอบเป่าฮาร์โมนิก้า รักน้องชายมากๆ มีกาบุมอน เป็นดิจิมอนคู่หู เป็นคนที่ดูเย็นชา ชอบทะเลาะกับไทจิ (จะเห็นได้ว่าชอบชกต่อยกับไทจิ) เขารักน้องชายของเขามาก และชอบเป่าฮาโมนิก้า ในภาคสองเขาได้เป็นนักดนตรีของโรงเรียน จึงทำให้มีสาวๆมาชอบเขามากมายรมทั้งโซระและจุนพี่สาวของไดสุเกะ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เขาก็ได้แต่งงานกับโซระ ดิจิมอนคู่หูคือ กาบุมอน
เด็กหญิงชั้น ป.5 ผู้มีสัญลักษณ์แห่งความรัก ปิโยมอน คือดิจิมอนของเธอ ชอบเล่นฟุตบอล เป็นเพื่อนสนิทของไทจิ เป็นคนร่าเริง ชอบเล่นฟุตบอลเหมือนกับไทจิ ในภาคแรกโซระจะไม่ค่อยชอบจัดดอกไม้และยังคิดว่าตนเป็นคนที่ไม่มีความรักแก่ใคร แต่เมื่อเห็นบิโยมอนอยู่ในอันตรายเธอก็ช่วยเธอไว้โดยไม่กลัวถึงอันตรายนั้นๆ ต่อมาเธอก็เรียนจัดดอกไม้และยังเป็นรุ่นพี่ที่ชมรมฟุตบอลของไดสุเกะ
เด็กชายชั้น ป.4 ผู้มีสัญลักษณ์แห่งความรู้ เก่งคอมพิวเตอร์มากๆ เราจะเห็นโคจิโร่พกคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คติดตัวอยู่เสมอ ดิจิมอนคู่หู คือ เท็นโตมอน เป็นสมองของกลุ่ม เขาเป็นคนฉลาด มีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ในภาค02เขาเป็นคนคอยช่วยเหลือพวกฮิคาริเสมอ (ตั้งแต่ต้นเรื่อง) โคจิโร่อาศัยกับเพื่อนของพ่อแม่ของเขา (ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อและแม่)
เพราะพ่อและแม่ของเขาได้เสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่เขายังเด็ก
เด็กหญิงชั้น ป.4 ผู้มีสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ เป็นคุณหนูที่ออกจะเอาแต่ใจตัวเอง แต่มีมี่ก็ปรับตัวและเป็นสาวน้อยที่น่ารักได้ ชอบการแต่งตัวและให้คนอื่นเอาใจใส่ รักความสะดวกสบาย เช่นเดียวกับพาลมอน ดิจิมอนคู่หูของเธอ ทาจิคาว่า มีมี่เป็นลูกคุณหนู ค่อนข้างเอาแต่ใจ ขึ้แย ต่อมาเธอก็ไปเรียนต่อที่อเมริกา มีมี่เคยกลับมาที่ญี่ปุ่นและได้พบกับพวกของฮิคาริที่โรงเรียน มีมี่มีเพื่อนคนนึงชื่อไมเคิลซึ่งเป็นเด็กที่ถูกเลือกเหมือนกัน เธอเข้มแข็งขึ้นและเป็นคนพึ่งพาได้
เด็กชายชั้น ป.6 ผู้มีสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ ขี้กลัว แต่ก็กล้าหาญอยู่ในที โจ อยากทำตามความปรารถนาของพ่อที่อยากให้เป็นหมอ พูดคำไหนคำนั้น มีโกมามอน เป็นดิจิมอนคู่หู เป็นรุ่นพี่ของกลุ่มมีความมุ่งมั่น แต่ตัดสินใจอะไรไม่ค่อยได้ ชอบเรียนพิเศษ ในภาคสองเป็นรุ่นพี่ที่พึ่งพาได้มากขึ้น ส่วนใหญ่จะยุ่งกับการเรียนพิเศษเสียมากกว่า จึงไม่ค่อยได้เห็นเขาโผล่หน้าเท่าไหร่ แต่ถึงกระนั้น เขาก็ได้สอนบทเรียนหลายอย่างแก่อิโอริ
เด็กชายชั้น ป.2 ผู้มีสัญลักษณ์แห่งความหวัง น้องชายของยามาโตะ อาศัยอยู่กับแม่ เนื่องจากพ่อแม่แยกทางกัน เป็นเหมือนน้องเล็กของกลุ่ม ขี้แย ดิจิมอนคู่หูคือ ปาตามอน
เด็กหญิงชั้น ป.2 ผู้มีสัญลักษณ์แห่งแสงสว่าง น้องสาวของไทจิ ในตอนแรก ฮิคาริไม่รู้ว่าตนเป็นเด็กที่ถูกเลือก แต่เมื่อรู้แล้วก็เข้ารวมกับคนอื่นๆเพื่อช่วยกอบกู้โลกดิจิตอล มีเทลมอนเป็นทั้งเพื่อนและคู่หู
เด็กที่ถูกเลือก
ดิจิมอนคู่หูของไทจิ อะกุมอนเป็น ดิจิมอนประจำตัว นิสัยคล้ายไทจิ ชอบกิน เป็นดิจิมอนที่ดูใสซื่อ ไม่มีพิษภัย
เป็นดิจิมอนที่ค่อนข้างมีความลับ เขาไม่ต้องการให้ใครเห็นผิวหนังใต้เสื้อขนสัตว์ของเขา ซื่อสัตย์ต่อยามาโตะเสมอ
Yokomon มีอีกชื่อคือ Pyocomon (เพียวโคมอน) ดิจิมอนคู่หูของโซระ คาดว่าเป็นชื่อภาษาญี่ปุ่น บิโยมอนรักและเป็นห่วงโซระมาก เธอเป็นคนที่ทำให้โซระนึกได้ว่า เธอมีคุณสมบัติสำหรับตราสัญลักษณ์แห่งความรัก
ดิจิมอนคู่หูของโคจิโร่ เป็นดิจิมอนที่ให้กำลังใจโคจิโร่ เวลาที่เขาต้องการ เป็นดิจิมอนประเภทแมลง
ดิจิมอนคู่หูของมีมี่ เป็นดิจิมอนจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ดิจิมอน พัลมอนเป็นคู่หูของมีมี่ ในตอนสุดท้ายของภาคนี้ เธอกลัวการลาจากระหว่างเธอและมีมี่ จึงไม่หลบเพื่อไม่เจอมีมี่ แต่สุดท้ายก็เธอก็ออกไปพบกับมีมี่อีกครั้ง
ดิจิมอนคู่หูของโจ ดิจิมอนประเภทสัตว์น้ำ เป็นดิจิมอนที่ร่าเริง สบาย ๆ ที่ดูขัดแย้งกับนิสัยของโจ
ดิจิมอนคู่หูของทาเครุ
ดิจิมอนคู่หูของฮิคาริ
รายชื่อตอน
คำว่า ดิจิทัล เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ ในบทความนี้เขียนคำว่า "ดิจิตอล" ตามต้นฉบับการ์ตูน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
MyUngoo
คลังบทความของบล็อก
-
▼
2007
(112)
-
▼
กันยายน
(26)
- เทือกเขาอัลไต เป็นเทือกเขาในเอเชียกลาง บริเวณพ...
- วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทย...
- แทนซาเนีย หรือ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (ภาษาอังกฤษ:...
- ภาษาแม่ (First language, native language หรือ ...
- คุณ ฉันทนา ธาราจันทร์ หรือ น้าติ๋ม เป็นนักพากย...
- สัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แป...
- ประวัติ สำเนียงที่สำคัญมี 4 สำเนียงคือ สำเนียง Y...
- บทความนี้เกี่ยวกับ日本の東北地方 สำหรับความหมายอื่น ...
- อาร์เจนตินา (Argentina) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐ...
- อาติแฟ็กคือเวลาคนที่ทำบัคดิโอ้กับจอมเวทแล้ว(จู...
- Homostelea Homoiostelea Stylophora Ctenocystoi...
- พุทธศักราช 98 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 446 วั...
- ตัวละครใน ซันวัลคัน โอวาชิ ริวสุเกะ / วัลอีเกิ้...
- รายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน (List of standard amino ...
- เพ็ญศรี พุ่มชูศรี (17 มิถุนายน 2472 - 14 พฤษภาคม...
- หลักการใช้ภาษาไทย วิธีการอ่านคำอักษรนำในภาษ...
- ฮีธ เลดเจอร์ (Heath Ledger) หรือชื่อจริง ฮีธคล...
- การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เกิดขึ้นเนื่องจาก__...
- จังหวัดเกียวโตะ (「京都府」, Kyōto-fu, 京都府) เป็นจัง...
- ประวัติ อภิสิทธิ์เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการได้...
- รูปพันเหลี่ยม หรือ คิเลียกอน (chiliagon) ในทาง...
- วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้ เริ่ม...
- ไม้ไต่คู้ (-็) มีลักษณะคล้ายเลขไทย (๘) ปรากฏอยู่...
- ประพันธ์ นัยโกวิท เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490...
- พุทธศักราช 1491 ใกล้เคียงกับ เมษายน ค.ศ. 948 ...
- ดิจิมอนแอดเวนเจอร์ (「デジモンアドベンチャー」, Dejimonadob...
-
▼
กันยายน
(26)