วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประเทศผู้ผลิต สหภาพโซเวียต
ปีที่ใช้งาน 1962
เจ้าหน้าที่ 4 นาย
หน้ก 15,500 กิโลกรัม/ 15.26 ต้น
ยาว 6 เมตร
สูง 2.1 เมตร
กว้าง 2.8 เมตร
เกราะหนาที่สุด 40 มม./ 1.58 นิ้ว
เครื่องยนต์ ดีเซล วี6 ให้กำลัง 87 แรงม้า
ความเร็ว 45 กิโลเมตร/ชั่วโมง
รัศมีทำการ 260 กิโลเมตร
อาวุธ
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ขนาด 85 มม./ 3.35 นิ้ว 2 กระบอก
อาวุธรอง ปืนกลขนาด 12.7 มม./ 0.5 นิ้ว และ 7.62 มม./ 0.3 นิ้ว อย่างละ 1 กระบอก
วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ในทฤษฎีความน่าจะเป็น อสมการของเชบิเชฟ เป็นข้อความทางคณิตศาสตร์ที่ให้ขอบเขตบนของความน่าจะเป็นที่ค่าของตัวแปรสุ่มตัวหนึ่งจะเบี่ยงเบนไปจากค่าคาดหมายของตัวแปรสุ่มนั้น อสมการของเชบิเชฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความน่าจะเป็นนี้กับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรสุ่มนั้น โดยมีใจความดังนี้
ให้ เป็นตัวแปรสุ่มที่มีค่าคาดหมาย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้ว สำหรับจำนวนจริง ใดๆ เราได้ว่า โดยทั่วไปแล้วอสมการของเชบิเชฟจะให้ขอบเขตบนที่แน่นกว่าอสมการของมาร์คอฟ เนื่องจากอสมการของเชบิเชฟใช้ความรู้เกี่ยวกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรสุ่ม อสมการของเชบิเชฟถูกใช้ในการวิเคราะห์อัลกอริทึมแบบสุ่มหลายๆ อัลกอริทึม เนื่องจากตัวแปรสุ่มในอัลกอริทึมนั้นมักเป็นตัวแปรสุ่มที่พบได้บ่อยและสามารถคำนวณส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ไม่ยาก
นายวิชา มหาคุณ (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2488) กรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อดีตประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา
นายวิชา จบการศึกษาปริญญาตรีและโท จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
นายวิชา รับราชการตุลาการ เคยดำรงผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 และภาค 2 และเป็นคณะกรรมการศาลยุติธรรม 2 สมัย เคยถูกคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2538 ด้วยข้อหาขัดคำสั่งรัฐมนตรี เมื่อครั้งเกิดกรณี "วิกฤตตุลาการ" แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ไม่ให้ออกจากราชการ พร้อมกับได้รับโ�! ��รดเกล้า ให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
นายวิชา มหาคุณ ดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ก่อนจะลงสมัครเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับเลือกเป็น กกต. แต่ปรากฎว่าไม่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549
นายวิชา มหาคุณ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สารบัญ
วัดเขียนบางแก้ว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
พุทธศตวรรษที่ 13 พ.ศ. 1482 สมัยศรีวิชัย เจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองพัทลุง ได้สร้างวัดเขียนบางแก้ว ประกอบด้วย กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูป พระมหาเจดีย์ สร้างเสร็จปี พ.ศ. 1493
พ.ศ. 1493 เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกามาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์
พ.ศ. 1486 วัดเขียนบางแก้วได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
จากหลักฐานทางเอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วัดเขียนบางแก้วน่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษ 15-18 แต่นักโบราณคดีกำหนดอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุ เข้าใจว่า
วัดเขียนบางแก้ว สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ได้พบโบราณวัตถุสำคัญได้แก่ ศิวลึงค์และฐานโยนิ เป็นอารยธรรมอินเดีย ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 และเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ
สมัยอยุธยาตอนต้น วัดเขียนบางแก้วเป็นวัดที่มีความเจริญมาก สมัยอยุธยาตอนกลาง เมืองพัทลุงเกิดสงครามกับพวกโจรสลัดมลายู จนพวกโจรสลัดได้เผาผลาญบ้านเรือนราษฎร และวัดเสียหายมาก
วัดเขียนบางแก้วเคยเป็นวัดร้าง
ชาวพัทลุงได้บูรณะวัดเขียนบางแก้ว พ.ศ. 2109 - พ.ศ. 2111 สมัยอยุธยาตอนกลาง สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เจ้าอินบุตรปะขาวสน กับ นางเป้า ชาวบ้านสะทัง ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน
พ.ศ. 2242 สมัยพระเพทราชา พระครูอินทเมาลีศรีญาญสาครบวรนนทราชจุฬามุนีศรีอุปดิษเถร คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง ได้บูรณะ
พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 วัดเขียนบางแก้วกลายเป็นวัดร้าง จนมีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
เอสอาร์-71 แบล็คเบิร์ด (SR-71 Blackbird) ล็อกฮีด เอสอาร์-71 เป็นเครื่องบินที่พัฒนาขึ้นมาจาก ล็อกฮีด วายเอฟ-12 เอ
รายละเอียด เอสอาร์-71
ผู้สร้าง บริษัทล็อกฮีด แอร์คราฟท์ เซอร์วิส (สหรัฐอเมริกา)
ประเภท เจ๊ตตรวจการณ์ทางยุทธศาสตร์ 2 ที่นั่งเรียงกัน
เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ๊ต แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เจที 11 ดี 20 บี ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 10,430 กิโลกรัม และ 14,740 กิโลกรัม เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
กางปีก 16.95 เมตร
ยาว 32.74 เมตร
สูง 5.64 เมตร
น้ำหนักเปล่า 27,215 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้น 77,110 กิโลกรัม
อัตราเร็วสูงสุด กว่า 3 มัค (3,220 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
พิสัยบิน 4,800 กิโลเมตร โดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
เพดานบิน กว่า 30,488 เมตร
บินทน 1 ชั่วโมง 30 นาที
อาวุธ ไม่ติดอาวุธ
วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ไอซีที (แก้ความกำกวม)
เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology), ไอที (IT) หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology), ไอซีที (ICT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง, แปลง, จัดเก็บ, ประมวลผล, และค้นคืนสารสนเทศ.
ในช่วงปีค.ศ. 1980 เครื่องคอมพิวเตอร์ยังมีเพียงส่วนประมวลผลข้อมูลเท่านั้น แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้ขยายตัว และมีการยอมรับอย่างกว้างขวาง และยังขยายตัวอย่างรวดเร็วในส่วนของอุปกรณ์
ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป้นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร! ) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สารบัญ
โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 250 เตียง เป็นศูนย์กลางด้านการพยาบาลและรักษาในจังหวัดนราธิวาสและ ประเทศเพื่อบ้าน โดยปัจจุบันโรงพยาบาลเทพสิรินธร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ขอใช้สถานที่ร่วมในการเป็นสถานปฏิบัติการใช้นคลินิกของนักศึกษาแพทย์ชั้น ปีที่ 4,5,และ6 และเป็นสถานปฏิบัติการชั้นคลินิก �! �องคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ลำดับที่๒รองจาก โรงพยาบาลเทพสิรินธร โดยปัจจุบันได้พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านขีดความรักษาทางด้านการแพทย์และพยาบาลอย่างสูง และเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์การพยาบาล และการสาธารสุขของภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะการรับรักษาและผู้ป่วยจากเหตุการความไม่สงบในสถานการณ์ภาคใต้ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น �! � โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกจึงเ� ��็นเหมือนสถานพยาบาลที่คอยเยี่ยมยาประชาชน ณ เวลานี้
สถาบัน / หน่วยงาน
อาคารอำนวยการกลาง ที่ตั้ง โรงพยาบาลเทพสิรินธร สำนักคณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
อาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง
อาคารหออภิบาลผู้ป่วย กุมารเวช- ศัลยาศาสตร์กุมารเวช - เวชศาสตร์แม่และเด็ก
อาคารหออภิบาลผู้ป่วยทั่วไป
อาคารหออภิบาลผู้ป่วยอายุรเวชชาย - อายุรเวชหญิง
อาคารอภิบาลผู้ป่วยกุมารเวช ชาย - หญิง
อาคารหออภิบาลผู้ป่วยศัลยศาสตร์ ชาย - หญิง
อาคารหออภิบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ ชาย - หญิง
อาคารหออภิบาลผู้ป่วยโศต ศอ นาสิกวิทยา
อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟูและสังคมบำบัดวิทยาคลินิก
อาคารเวชศาสตร์นิวเคลียร์ - หอรังสี
อาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์
อาคารสยามมงกุฎราชกุมาร ( หอสงฆ์อาพาธ )
อาคารกายวิภาคศาสตร์ ( หออาจารย์ใหญ่รำลึก )
อาคารสยามบรมราชกุมารี หออภิบาลผู้ป่วยพิเศษ , ศูนย์หัวใจภาคใต้ , ศูนย์มะเร็ง ( ตึกใหม่ ๑๑ ชั้น )
อาคารสว่างวัฒนา ( หอผู้ป่วยเก่า )
อาคารกัลยาราชนครินทร์
อาคารสิรินธรเฉลิมพระเกียรติ
อาคารศรีนครินทร์ ๑๐๐ ปี ( ตึก 25 ชั้น )
อาคารอานันทมหิดล ( ตึกกลาง ๑๔ ชั้น )
อาคารมหาภูมิพลอดลุยาเดชเฉลิมพระเกียรติ ( ตึกหน้า ๑๐ ชั้น )
อาคารสิริกิติ์ทราชินีนารถ ( ตึกหลัง ๑๒ ชั้น )
ตึกอุบลรัตน์ ( ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ )
วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ผู้หนึ่งในประเทศไทย เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล โดยในยุคของท่านนี้ ได้มีการก่อตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ด้วย
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
ประวัติและการทำงาน:
ชื่อ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
คุณวุฒิ 2497 - แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2503 - D.A. (Eng.) (ประกาศนียบัตรทางวิสัญญีวิทยาแห่งประเทศอังกฤษ) ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศอังกฤษ และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งกรุงลอนดอน 2505 - F.F.A.R.C.S. (Eng.) (Fellow of Faculty of Anaethetists, Royal College of Surgeon of England) ราชวิทยาลัยวิสัญญีแห่งประเทศอังกฤษ 2506 - Hon.F.R.C.S (Thailand) (สมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย) ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่�! �ประเทศไทย 2512 - อนุมัติบัตรประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิสัญญีวิทยา แพทยสภา 2526 - สมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย 2536 - Hon. Doctor of letters. Sydney University 2539 - Hon. FICS. (International College of Sugeons) Honorary Awards - แพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) มหาวิทยาลัยมหิดล - สมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย
ประสบการณ์ 2514 - เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2516 - หัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล 2530 - 34 - คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2532 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน 2534 - 38 - อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล 2538 - 2540 - สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จังหวัดปทุมธานี ! 2542 - ประธานกรรมการนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ - ประธานสหพันธ์ครอบครัวเพื่อความสามัคคีและสันติภาพของโลก (ประเทศไทย) - รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติิคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ของสภาผู้แทนราษฎร - ประธานคณะกรรมการประชาพิจารณ์ร่างแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2544 - ประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาและสันติ - รองประธานมูลนิธิโรคไตแห่งป! ระเทศไทย ในพระบรมราชูปถั มภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนาธิวาสราชนครินทร์ - กรรมการบริหารมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ - กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ - กรรมการบริหารมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 3 พ.ศ. 2540 ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มวม. ท.จ.ว.ภ.ป.ร. ชั้น 3) - เหรียญเชิดชูเกียนติยศวิสัญญีแพทย์ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ ของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศอังกฤษ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Gorkha Daksina Bahu ของราชอาณาจักรเนปาล ชั้นที่ 2 พ.ศ. 2526 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตรา Verdien mit Stern ของ�! �ระเทศเยอรมัน ชั้นที่ 2 พ.ศ. 2528 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Legion d'Honneur (France) ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 พ.ศ. 2535 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Prasidthi (Nepal) Prabala พ.ศ. 2537 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝรั่งเศส Order of Merit - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ซาอุดิอาระเบีย
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
จังหวัดคุมะโมะโตะหมายเลข43
จังหวัดคุมะโมะโตะจังหวัดคุมะโมะโตะตั้งอยู่บริเวณภาคคิวชูของญี่ปุ่นมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคุมะโมะโตะซิตี้
เมืองหลวง คุมะโมะโตะซิตี้
ภูมิภาค คิวชู
เกาะ คิวชู
ผู้ว่าราชการจังหวัด Yoshiko Shiotani
เนื้อที่ อันดับที่ 16
ประชากรอันดับที่ 23
จำนวนเขตการปกครองย่อย 10
จำนวนเทศบาล 48
ISO 3166-2 JP-43
สัญลักษณ์
ดอกไม้ประจำเขต: Gentian (Gentiana scabra var. buergeri)
ต้นไม้ประจำเขต: Camphor tree (Cinnamomum camphora)
นกประจำเขต: Eurasian Skylark (Alauda arvensis)
วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
อโลหะ (อังกฤษ: nonmetal) คือธาตุที่แตกต่างจากโลหะและธาตุกึ่งโลหะในเรื่องคุณสมบัติของการแตกตัวของไอออน (ionization) และการดึงดูดระหว่างอะตอม (bonding properties) คือ อโลหะทุกตัวจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (highly electronegative) โดยการรับอิเล็กตรอน (valence electrons) จากอะตอมของธาตุอื่น. อโลหะเป็นอนุกรมเคมีในตารางธาตุที่ประกอบด้วย ธาตุในกลุ่มแฮโลเจน ก๊าซมีตระกูล และธาตุดังต่อไปนี้
โดยทั่วอโลหะจะมีสมบัติตรงข้ามกับโลหะ เช่น อโลหะเป็นฉนวนไฟฟ้า (หรือกึ่งตัวนำไฟฟ้า) ในขณะที่โลหะเป็นตัวนำไฟฟ้า. แม้ว่าโลกจะมีอโลหะเพียงประมาณ 12 ตัวและโลหะมากกว่า 80 ตัว แต่วัตถุในโลกส่วนใหญ่เป็นอโลหะ โดยเฉพาะเปลือกโลก. สิ่งที่มีชีวิตเกือบทั้งหมดเป็นอโลหะ ออกไซด์ของโลหะมักจะเป็นกรด. อโลหะส่วนมากจะอยู่ด้วยกันเพียง 2 อะตอม (diatomic) ซึ่งได้แก่
ที่เหลือจะอยู่กันแบบหลายอะตอม (polyatomic)
ตารางธาตุ แก้
ไฮโดรเจน (hydrogen - H)
คาร์บอน (carbon - C)
ไนโตรเจน (nitrogen - N)
ออกซิเจน (oxygen - O)
ฟอสฟอรัส (phosphorus - P)
กำมะถัน (sulfur - S)
ซีลีเนียม (selenium - Se)
ไฮโดรเจน (hydrogen - H)
คาร์บอน (carbon - C)
ไนโตรเจน (nitrogen - N)
ออกซิเจน (oxygen - O)
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
อักษรสินธุเป็นอักษรที่พบในเขตอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นเป็นอารยธรรมแห่งแรกในเอเชียใต้ อารยธรรมนี้เจริญสูงสุดเมื่อราว 2,057 – 1,357 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่ายุคฮารัปปัน บริเวณดังกล่าวรวมดินแดนของประเทศปากีสถานเกือบทั้งหมด บางส่วนของอินเดียไปจนถึงเดลฮีทางตะวันออก, บอมเบย์ทางใต้ และบางส่วนของอัฟกานิสถาน
สารบัญ
หลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการเขียนในบริเวณนี้คือจารึกพบราว 2,000 ชิ้น แต่การถอดความทำได้ช้า เพราะ
เป็นจารึกขนาดสั้นและเป็นข้อความแบบย่อ สั้นสุดมีเครื่องหมาย 5 ตัว ยาวสุด 26 ตัว
ไม่รู้ว่าจารึกด้วยภาษาใด
ไม่มีจารึก 2 ภาษา
อักษรสินธุเป็นอักษรชนิดใด
ระบบตัวเลขของอักษรสินธุเป็นเลขฐาน 8 ซึ่งพบในภาษาดราวิเดียนโบราณก่อนเปลี่ยนเป็นเลขฐาน 10 เมื่อได้รับอิทธิพลจากอารยัน ระบบนี้จะนับตั้งแต่ 1 – 7 เลข 8 ใช้คำว่า จำนวน เลข 9 คือ มาก-1 และ 10 คือ มาก
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
นางกรรณิกา ธรรมเกษร หรือ แอ้ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2490 -- ) ผู้ประกาศข่าว นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์
กรรณิกา ธรรมเกษร เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ นายประภาส-นางดาวรุ่ง ธรรมเกษร จบการศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชาลัย และโรงเรียนเทเวศร์วิทยาลัย เริ่มงานเป็นผู้ประกาศข่าว ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ขณะยังเป็นนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นมาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ และผู้ประกาศข่าวทาง ช่อง 3 ตั้งแต่เริ่�! �ออกอากาศครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2513 ต่อเนื่องมานานหลายปี รวมทั้งเล่นละครโทรทัศน์ ทางช่อง 3 หลายเรื่อง จนเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของช่อง 3 ก่อนจะลาออกมาร่วมงานกับ ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล ในบริษัท แปซิฟิก และเป็นผู้ประกาศข่าว ทาง ช่อง 9 เมื่อ พ.ศ. 2530 ในช่วงที่ ดร. สมเกียรติ ปรับรูปแบบการนำเสนอข่าวในรูปแบบใหม่ และเป็นผู้จัดรายการโต้วาที รายการทีวีวาที ทางช่อง 5
นางกรรณิกา มีเอกลักษณ์ในการอ่านข่าวกับ ดร. สมเกียรติ ที่คุ้นตากันคือ เมื่อจบรายการข่าว จะกล่าวจบรายการพร้อมกับแสดงภาษามือ สำหรับผู้พิการทางหู ซึ่งทำให้ได้รับรางวัล "เพื่อคนพิการ" จากสมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2532
ในระยะหลัง นางกรรณิกา ทำงานการเมือง และลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในนามพรรคไทยรักไทย เมื่อ พ.ศ. 2544 ลาออกจากพรรคไทยรักไทย เมื่อ พ.ศ. 2548 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และมีชื่อถูกกล่าวถึงอยู่ในเพลงไอ้หน้าเหลี่ยม ที่ใช้ในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
แบบจำลองอะตอมเชิงคลื่นนั้น หรือเรียกอีกอย่างว่าแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก ได้มาจากสมมติฐานและการทดลองซ้ำ ๆ เพราะอะตอมเป็นสิ่งที่เล็ก ๆ มาก ๆ สิ่งก็ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน เมื่อนักวิทยาศาตร์ได้ค้นคว้าหาข้อมูลใหม่ ๆ มาก็นำมาประยุกต์ และใช้อธิบายแบบจำลองอะตอม ซึ่งแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกนี้เป็นแบบจำลองอะตอมที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุด และคนส่! วนใหญ่ก็เชื่อถือจนถึงปัจจุบัน
วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส) เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยได้รับทุนสนับสนุนโครงการจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมไม่ใช่หน่วยงานให้ทุนสนับสนุนกิจกรรม (granting agency)
สารบัญ
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมดำเนินงานในช่วง 5 ปีแรกระหว่าง พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2551 ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างระดมความคิดหาทิศทางและยุทธศาสตร์การดำเนินงานในช่วง 5 ปีที่สอง (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2556) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมเน้นความร่วมมือระยะยาวกับภาคี
ประวัติ
การจัดการความรู้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ หรือสังคมอุดมปัญญา เนื่องจากสังคมไทยจำเป็นต้องขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของสังคมสู่สังคมอุดมปัญญา จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการความรู้ขึ้นในสังคม นี่คือที่มาของการก่อตั้ง สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ให้เป็นองค์กรหล�! �กในการขับเคลื่อนขบวนการจัดการความรู้ในสังคมไทย โดยทำงานร่วมกับภาคีที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นภาคีโดยตรงและโดยอ้อม โดย สคส. ทำงานในลักษณะของเพื่อนร่วมเรียนรู้วิธีใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายหลักของภาคี และทำงานเชื่อมโยงภาคีจัดการความรู้เข้าเป็นเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์การนำการจัดการความรู้ไป�! ��ช้งาน
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมดำเนินการส่งเสริมการจัดการความรู้ในสังคมไทย ทั้งในภาคสังคม-เศรษฐกิจพอเพียง และในภาคสังคม-เศรษฐกิจแข่งขัน ทั้งในภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคเอกชนไม่ค้ากำไร (เอ็นจีโอ) และภาคประชาชน ทั้งดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินการจัดการความรู้ในบริบทและรูปแบบที่หลากหลาย และส่งเสริมขบวนการเคล�! ��่อนสังคมไทยสู่สังคมความรู้ และสังคมเรียนรู้ โดยมีการสร้าง ศาสตร์ ด้านการจัดการความรู้ในสังคมไทย และสร้าง "สุขภาวะ" ทางสังคม และทุนทางสังคมไปพร้อมๆ กับการดำเนินการดังกล่าว
แนวคิดและการจัดการ
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมมียุทธศาสตร์การดำเนินงานในลักษณะเชื่อมโยงเครือข่ายกิจกรรมจัดการความรู้ขององค์กร หน่วยงาน และชุมชนต่างๆ ภายในประเทศ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการ ประสบการณ์ และความสำเร็จในการใช้การจัดการความรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักขององค์กร หน่วยงาน และชุมชน โดยมีหลายกิจกรรมหลายอย่างเช่น
มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ จัดทุกปี ในวันที่ 1 - 2 ธันวาคม มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 จัดที่ ไบเทค บางนา
การประชุมภาคีการจัดการความรู้ภาคท้องถิ่น
การประชุมภาคีการจัดการความรู้ภาคราชการ
จดหมายข่าว ถักทอสายใยแห่งความรู้
Gotoknow (บล็อก)
เครือข่ายการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย (UKM)
เครือข่ายการวิจัยด้านการจัดการความรู้ (RKM)
ชุมชนผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
การดำเนินการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายการจัดการความรู้ในท้องถิ่น หรือชุมชน โดย สรส. (สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข) มีคุณทรงพล เจตนาวณิชย์ เป็นผู้อำนวยการ เน้นการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สหกรณ์ และองค์กรพัฒนาเอกชน
การให้บริการ KM Internship Program และ KM Externship Program
แนะนำวิทยากรบรรยาย หรือจัดการประชุมปฏิบัติการ เรื่องการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้
เป็นวิทยากรตามข้อ 11 โดย สคส. จะร่วมกับหน่วยงานที่ร้องขอในการคิด Roadmap ของการใช้การจัดการความรู้ในระยะเวลาประมาณ 2 ปี เพื่อร่วมกันเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ในการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
แปบควาย เป็นชื่อปลาน้ำจืด 3 ชนิด คือชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Paralaubuca harmandi, Paralaubuca typus และ Paralaubuca riveroi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Alburninae
ชนิดแรกมีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน ขนาดโดยเฉลี่ย 15 ซ.ม. มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่�! �้ำเจ้าพระยา กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
ชนิดที่สองมีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายคลึงกับชนิดแรก ต่างกันที่มีลำตัวสั้นกว่า
ชนิดที่สามมีความคล้ายคลึงชนิดที่สอง
ปลาแปบทั้ง 3 ชนิด ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
แปบควายมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " ท้องพลุ " และในภาษาอีสานเรียกว่า " แตบ ", " แตบขาว " หรือ " มะแปบ " เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่น
รูปและข้อมูลปลาแปบควายชนิดแรก
รูปและข้อมูลปลาแปบควายชนิดที่สอง
รูปและข้อมูลปลาแปบควายชนิดที่สาม
วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
เทอราพิน หรือ เทอพินนี่ หรือ Terrapin ตามตำนาน และตามที่นักนิทานวิทยาต่างเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นเต่าเรื่องมาก เจ้าอารมณ์ กินเก่งมาก และขี้เกียจ ด้วยลักษณะดังกล่าว ไม่เป็นที่แปลกใจที่พบว่ารูปภาพที่วาดขึ้นมานั้น ทั้งหมดต่างวาดภาพเทอราพินนี่ ให้มีขนาดใหญ่ มีพุง และคางสั้น ซึ่ง แต่ทั่งนี้ เทอร่าพินนี่ ได้รับการยอมรับเป็นการทั่วไปว่าเป็นเต่าที่หน้าตาน�! ��ารักกว่าเต่าทั่วๆไป ทั้งนี้ เจ้า เทอราพินนี่ เป็นภรรยาของเจ้าเทอราเท่น เต่าผอม เกร็ง เจ่าเต่าเทอราพินนี่มักอ้างตนว่าเป็นเต่าชีวจิต แต่จริงๆแล้วชอบทานเนื้อสัตว์มากกว่าพืช ในแง่ปริมาณด้วย
วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สารบัญ
วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ได้ประทานที่ดินเพื่อจัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์" ขึ้น โดยจัดการศึกษา ทั้งแผนกฝึกหัดครูและแผนกสามัญ ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ " เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร�! ��บสถาบันไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏวไลย�! ��ลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์" เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2545
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไภยในร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปลี่ยนสภาพเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์" ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " VALAYA ALONGKORN RAJABHAT UNIVERSITY"
สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเขียว ซึ่งเป็นสีประจำวันประสูติของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งเป็นองค์ประธานกำเนิดมหาวิทยาลัย
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
คณะครุศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาการจัดการ
คณะเทคโนโลยีอุตสหกรรม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
บัณฑิตวิทยาลัย
สำนักส่งเสริมวิชาการ
สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
ศูนย์กรุงเทพมหานคร
ศูนย์สระแก้ว
ศูนย์ให้การศึกษาเซียร์ รังสิต
ศูนย์ให้การศึกษากบินทร์บุรี
ศูนย์ให้การศึกษาแก่งคอย
วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
พระยามหานุภาพ (อัน) มีชีวิตอยู่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยรัชกาลที่ 1 ประวัติของท่านไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าได้ร่วมเดินทางไปกับคณะทูตเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าเคียนหลง ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อ พ.ศ. 2324 แต่จะไปในตำแหน่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทางด้านการกวีท่านเป็นผู้มีฝีปากทางกลอนด้วยผู้หนึ่งในสมัยนั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)