วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550


จี-จูเนียร์ (G-Jr) กลุ่มศิลปิน จาก ค่าย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกผลงานเพลงครั้งเเรก เมื่อปี พ.ศ. 2549 ใช้ชื่ออัลบั้มว่า "G-Jr (10 Club)"

สมาชิกในกลุ่ม

จี-จูเนียร์ ประวัติ

ซิงเกิล

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ
ค้นหา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ATC รหัส D
ส่วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System)

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย ( ทองคำ ณ ราชสีมา ) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ทรงเป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย
พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงพระปรีชาในด้านงานช่าง ทรงร่วมรับหน้าที่บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมเกียรติพระองค์ ทรงกรมเป็น กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ผู้บังคับการกรมช่างมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ทรงบังคับบัญชางานช่างต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน พระราชวังบางปะอิน สวนสราญรมย์ ทรงรับผิดชอบงานโยธาในการก่อสร้าง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ และได้ทอดพระเนตรภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ในปีต่อมา ทรงตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ทรงจัดซื้อเครื่องซีเนมาโตกราฟฟี ซึ่งเป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ กลับมาเมืองไทยด้วย ภาพบันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นับเป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดในโลกที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชาติไทย
ภาพ:100yr_thaifilm1.jpgภาพ:100yr_thaifilm2.jpgภาพ:100yr_thaifilm3.jpgภาพ:100yr_thaifilm4.jpg
ภาพแสตมป์ที่ระลึก ๑๐๐ ปี ภาพยนตร์ไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๔๐
กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์เบ็ดเตล็ด ทั้งในและนอกเขตพระราชวัง จนถึงภาพพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชน ที่บริเวณวังสรรพสาตรศุภกิจ และในงานออกร้านประจำปีวัดเบญจมบพิตร นับว่าทรงเป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย
พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงประทับอยู่ที่วังสรรพสาตรศุภกิจ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ วังนี้ถูกไฟไหม้หมดจนเหลือแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ และมีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทน ปัจจุบันย่านนี้เรียกว่า แพร่งสรรพศาสตร์
พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงได้รับเฉลิมพระเกียรติเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการตำแหน่งสุดท้ายเป็น นายพันเอกราชองครักษ์ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ พระชนมายุได้ ๖๒ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองแถม และทรงมีเชื้อสายที่ไม่ได้นับเป็นราชสกุล คือสกุล ทองเจือ และ สุวรรณรัฐ

กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระโอรส-ธิดา
หม่อมเจ้าเม้า รองทรง พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารองทรง กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ ราชสกุลวังหน้าในรัชกาลที่ ๒

หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๗๖) เษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๓๓-๒๔๙๑) เษกสมรสกับ หม่อมหลวงแฉล้ม
หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๓๕-?) เษกสมรส
หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๕๐๑) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าหญิงทองบรรณาการ ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๔๖-ปัจจุบัน?) เษกสมรส หม่อมเจ้าเม้า รองทรง

หม่อมเจ้าหญิงเครือมาศวิมล ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๒) หม่อมราชวงศ์เกษรสุมาลี อิศรางกูร
ธิดาในหม่อมเจ้าตุ้ม อิศรางกูร น้องสาวหม่อมราชวงศ์เกษรสุมาลี อิศรางกูร





หม่อมเจ้าหญิงกนกนารี ทองแถม (พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๕๑๑)

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ไนกี
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย แยกต
ค้นหา รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย แยกต ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย แยกต
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย แยกต ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตตลิ่งชันเดิมเป็นอำเภอเก่าแก่อยู่ในพื้นที่การปกครองของจังหวัดธนบุรี แต่ปัจจุบันธนบุรีได้รวมอยู่กับกรุงเทพมหานครแล้ว ในปี พ.ศ. 2541 พื้นที่เขตทางทิศตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษกได้ถูกแบ่งและจัดตั้งเป็นเขตใหม่ คือเขตทวีวัฒนา ทุกวันนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตก็ยังคงเป็นพื้นที่เกษตร ได้แก่ สวนผัก สวนผลไม้ แต่ก็เริ่มที่จะมีการสร้างบ้านจัดสรรเข้ามาด้วย

เขตตลิ่งชัน การแบ่งเขตการปกครอง
ปัจจุบันในพื้นที่เขตตลิ่งชันมีทางสายหลักอยู่ 3 สาย คือ ถนนบรมราชชนนี ถนนคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี และถนนราชพฤกษ์
ส่วนทางสายรองนั้นมีอยู่ทั่วไป และเข้าถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขต ได้แก่ ถนนฉิมพลี ถนนทุ่งมังกร ถนนสวนผัก ถนนบางพรม ถนนชักพระ ถนนบางระมาด ถนนวัดอินทราวาส ถนนบางเชือกหนัง ถนนแก้วเงินทอง ถนนชัยพฤกษ์ และถนนปากน้ำกระโจมทอง ซึ่งตามริมถนนทั้งสายหลักและรองดังกล่าวก็ยังมีตรอกซอกซอยแยกย่อยออกไปอีก

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นันทนาการ
นันทนาการ (Recreation) คือ กิจกรรมที่สมัครใจทำในยามว่าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ นันทนาการ การเล่น และความสนุกสนาน ไม่สงวนไว้แต่มนุษย์ แต่พบได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด การเล่นช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ โดยเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหวในสิ่งมีชีวิตวัยเยาว์
สำหรับมนุษย์ กิจกรรมนันทนาการมักเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ และวันหยุด ประกอบด้วย ดนตรี การเต้นรำ กีฬา งานอดิเรก เกม และการท่องเที่ยว การดูโทรทัศน์ และฟังเพลง เป็นรูปแบบสามัญของนันทนาการ

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Apache HTTP Server
อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Apache HTTP Server) คือซอฟต์แวร์สำหรับเปิดให้บริการเซิร์ฟเวอร์บนโปรโตคอล HTTP โดยสามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ ที่มาของชื่อ apache มาจากชื่อชนเผ่าอินเดียแดงพื้นเมืองของทวีปอเมริกา คือ อะแพชี
ภายในบทความต่อไปนี้ใช้คำว่า อาปาเช่ ตามที่คนไทยนิยมเรียกกัน

Apache HTTP Server ประวัติ
การที่อาปาเช่เป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่ในลักษณะของ โอเพ่นซอร์ส ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาร่วมพัฒนาส่วนต่างๆ ของอาปาเช่ได้ ซึ่งทำให้เกิดเป็น โมดูล ที่เกิดประโยชน์มากมาย เช่น mod_perl, mod_python หรือ mod_php ซึ่งเป็นโมดูลที่ทำให้อาปาเช่สามารถใช้ประโยชน์ และทำงานร่วมกับภาษาอื่นได้ แทนที่จะเป็นเพียงเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการเพียงแค่ เอชทีเอ็มแอล อย่างเดียว นอกจากนี้อาปาเช่เองยังมีความสามารถอื่นๆ ด้วย เช่น การยืนยันตัวบุคคล (mod_auth, mod_access, mod_digest) หรือเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารผ่าน โปรโตคอล https (mod_ssl) นอกจากนี้ ก็ยังมีโมดูลอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมใช้ เช่น mod_vhost ทำให้สามารถสร้างโฮสท์เสมือน www.sample.com, wiki.sample.com, mail.sample.com หรือ www.ilovewiki.org ภายในเครื่องเดียวกันได้ หรือ mod_rewrite เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ url ของเว็บนั้นอ่านง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมต้องอ้างถึงเว็บไซต์แห่งหนึ่งด้วยการพิมพ์ http://mydomain.com/board/quiestion.php?qid=2xDffw&action=show&ttl=1187400 แต่หลังจากใช้ mod_rewrite จะทำให้สั้นลง กลายเป็น http://mydomain.com/board/question/how_to_edit_wikipedia_content.html ซึ่งที่อยู่หลังนี้จะขึ้นอยู่กับว่าผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องการให้อยู่ในลักษณะใด

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Epiphany (เว็บเบราว์เซอร์)
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่ายังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม หรือไม่รู้วิธีอ่านในภาษาไทย
Epiphany เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของระบบเดสก์ท็อป GNOME พัฒนาต่อจากเว็บเบราว์เซอร์ Galeon
Epiphany เป็นหนึ่งในเบราว์เซอร์ที่ใช้ตัววาดหน้าเว็บ Gecko ของมูลนิธิมอซิลลา แต่ในส่วนของตัวโปรแกรมที่ติดต่อกลับผู้ใช้พัฒนาด้วย GTK+ แทนที่จะเป็น XUL แบบเบราว์เซอร์อื่นๆ ที่พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลา
Epiphany มีความสามารถในระดับเดียวกับเบราว์เซอร์ยุคใหม่ตัวอื่นๆ เช่น มีระบบแท็บ, คุกกี้, ระบบป้องกันป๊อบอัพ และการติดตั้งโปรแกรมเสริมที่เรียกว่า extension จุดเด่นของ Epiphany คือพัฒนาโดยอิงตาม GNOME Human Interface Guidelines ซึ่งทำให้มีส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกับโปรแกรมอื่นๆ ของ GNOME
Epiphany พัฒนาต่อจาก Galeon โดย Marco Pesenti Gritti (ซึ่งเป็นผู้เริ่มพัฒนา Galeon เช่นกัน)

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อุ้ยเสี่ยวป้อ
อุ้ยเสี่ยวป้อ อุ้ยเสี่ยวป้อ (Lu Ding Ji : เต็กเตี้ยกี้ - ไร้กระบวนท่าสยบกระบวนท่าทั้งแผ่นดิน) เป็นนิยายเรื่องสุดท้ายของ กิมย้ง ซึ่ง เหง่ยคัง ถือว่าเรื่องนี้เป็นสุดยอดพัฒนาการทางการประพันธ์ของกิมย้ง และเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือกิมย้งว่า " ไม่มีใครเป็นคู่แข่งได้ " ความเป็นยอดของเรื่องนี้อยู่ที่เป็นนิยายกำลังภายในที่ไม่ใช่นิยายกำลังภายใน นิยายกำลังภายในโดยทั่วไปมีขนบในการแต่งที่เห็นได้ง่ายอยู่สองประการคือ ตัวเอกต้องเป็นจอมยุทธหรืออย่างน้อยต้องมีวิทยายุทธ และตัวเอกต้องเป็นคนดีในแง่ของคุณธรรม แต่อุ้ยเสี่ยวป้อในเรื่องนี้มีลักษณะตรงข้ามกับขนบดังกล่าวทุกประการ ลักษณะดังกล่าวไม่เคยปรากฏในนิยายกำลังภายในเรื่องใดมาก่อน และเหง่ยคังว่าไม่มีเรื่องอื่นอีกต่อไป เรื่องนี้กิมย้งหันกลับไปใช้ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรพรรดิคังซี แห่ง ราชวงศ์ชิง มีส่วนสะท้อนการเมืองในจีนแผ่นดินใหญ่หลังปฏิวัติวัฒนธรรมอยู่ไม่น้อย แต่ความเด่นอยู่ที่สะท้อนธรรมชาติวิสัยมนุษย์ในสังคมปัจจุบันที่ต้องลดมาตราฐานศีลธรรมลงเพื่อความอยู่รอด เป็นนิยายที่มุ่มสะท้อนความจริงมากกว่าจะชี้นำผู้อ่านอย่างที่กิมย้งเคยสอดแทรกไว้ในแทบทุกเรื่องนับเป็นการแหวกวงล้อมครั้งยิ่งใหญ่ของนักประพันธ์เอกผู้นี้
ในด้านศิลปะการประพันธ์นั้น งานของกิมย้งมีความประณีตแยบยลทุกด้าน ที่เห็นได้ชัดคือ ด้านสำนวนภาษา กิมย้งมีทัศนะว่านิยายกำลังภายในเป็นวรรณกรรมแบบจีนแท้ แม้จะใช้ศิลปะการประพันธ์นวนิยายช่วยในการแต่ง แต่ไม่ควรใช้สำนวนภาษาแบบนวนิยาย ของตะวันตก ควรใช้สำนวนภาษาแบบนิยายรุ่นเก่าเช่นสามก๊กของจีน เป็นแนวทางพัฒนาให้เหมาะแก่ยุคสมัย
บางส่วนจากคำอธิบายในหนังสือสกัดจุดยุทธจักรมังกรหยก เต๊กเตี้ยกี้ (ลูติ่งจี้) เรื่องนี้ น.นพรัตน์แปล ครั้งแรกใช้ชื่อว่า 'เหยียบยอดยุทธจักร' ต่อมา เปลี่ยนเป็นเรื่อง 'อุ้ยเสียวป้อ' ตามชื่อพระเอกในเรื่อง ชื่อของนิยายเรื่องนี้หาคำไทยที่เหมาะสม แปลให้ตรงความหมายในภาษาจีนได้ยาก เต๊กปกติแปลว่า กวาง แต่โดยอุปมาหมายถึงสิ่งที่หมายจะ ล่าหรือแย่งชิงเอาให้ได้ ซึ่งมักเจาะจงหมายถึงอำนาจทางการเมืองหรือตำแหน่งกษัตริย์ เตี้ยแปลว่า กระถางธูปใหญ่อย่างที่ใช้ในศาลเจ้าจีน ของโบราณมีสามขา ใช้เป็นกระถางธูปในปราสาทเทพบิดร กระถางธูปสามขาตึงเป็นเครื่องหมายของการตั้งราชวงศ์ การมีอำนาจปกครองบ้านเมือง กี่แปลว่า การจดบันทึก เรื่องที่จดบันทึกไว้หรือประวัติ พอจะแปลรวมอย่างเอาความได้ว่า "บันทึกเรื่อง ไอศูรย์ราช" "บันทึกเรื่องบัลลังก์ราชย์" หรือ "บันทึกเรื่องบัลลังก์ราชัน" อันหมายถึงเรื่องของ พระจักรพรรดิคังซีซึ่งเป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องนี้
คำตามโดยท่านกิมย้ง (จากหนังสืออุ้ยเซี่ยวป้อ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ G Book แปล โดยท่านน.นพรัตน์)
เรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อเริ่มนำลงในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1969 จวบกระทั่ง วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1972 ค่อยนำลงจบเรื่อง ใช้เวลานำลงสองปีกับอีกสิบเอ็ดเดือน
ข้าพเจ้าเขียนนิยายกำลังภายในนำลงในหนังสือพิมพ์ชนิดวันต่อวันนี้ เขียนตอนหนึ่ง ตีพิมพ์ในวัน พรุ่งนี้ ดังนั้นหมายความว่านิยายเรื่องนี้ก็ใช้เวลาเขียนติดต่อกันสองปีกับอีกสิบเอ็ดเดือน หากว่าไม่มี สิ่งนอกเหนือความคาดหมาย (ในชีวิตของคนมักมีสิ่งนอกเหนือความคาดหมาย) นี่นับเป็นนิยายกำลัง ภายในเรื่องสุดท้ายของข้าพเจ้า
แต่เรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อไม่คล้ายนิยายกำลังภายใน มิสู้บอกว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ ระหว่างที่นิยาย เรื่องนี้นำลงในหนังสือพิมพ์ มักมีนักอ่านเขียนจดหมายมาไต่ถาม "อุ้ยเซี่ยวป้อใช่เป็นคนอื่นเขียนแทน หรือไม่?" เนื่องเพราะพวกเขาพบว่านี่ต่างกับผลงานที่แล้วมาของข้าพเจ้านัก
ซึ่งความจริงนี่เป็นผลงานการเขียนของข้าพเจ้าทั้งสิ้น ต้องขอขอบคุณผู้อ่านทั้งหลายที่ให้ความเมตตา และผ่อนผันแก่ข้าพเจ้า เมื่อพวกเขาไม่พอใจผลงานเรื่องใด หรือตอนไหนของข้าพเจ้า จะทึกทักว่า เป็นคนอื่นเขียนแทน รักษาความดีไว้ให้กับข้าพเจ้า ผลักความไม่พอใจไปที่ "คนเขียนแทน" ซึ่งนึกวาด มโนภาพไว้ เรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อต่างกับนิยายกำลังภายในของข้าพเจ้า นั่นเป็นความจงใจ
นักเขียนคนหนึ่งไม่ควร ย้อนรอยรูปแบบและลักษณะของตัวเอง ควรพยายามหาทางสร้างสรรค์ใหม่ มีนักอ่านบางคนไม่ชอบเรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อ เพราะสืบเนื่องจากความประพฤติของตัวเองของเรื่อง ซึ่งตรงข้ามกับความคิดอ่านทั่วไป นักอ่านนิยายกำลังภายในคุ้นกับการพาตัวเองแทนที่วีรบุรุษใน หนังสือ
แต่อุ้ยเซี่ยวป้อผู้นี้ไม่สามารถแทนที่ได้ ทางด้านนี้ได้ลิดรอนความสุขบางประการของนักอ่าน ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจยิ่ง แต่ตัวเอกในนิยายไม่แน่ว่าต้องเป็น "คนดี" หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของนิยายคือสร้างสรรค์ตัวละคร ทั้งคนดี คนชั่ว คนดีที่มีข้อบกพร่อง คนชั่วที่มีจุดเด่นทั้งหลายทั้งปวง ล้วนแล้วแต่นำมาเขียนได้ แผ่น ดินจีนในยุคสมัยคังฮีฮ่องเต้ บุคคลเช่นอุ้ยเซี่ยวป้อมิใช่เป็นไปไม่ได้ นักเขียนสร้างสรรค์บุคคลคนหนึ่ง ไม่แน่ว่ามีเจตนาให้เป็นแบบลักษณะที่แน่นอน เพียงแต่บรรยายว่ามีบุคคลเช่นนี้ ไม่ได้ชักชวนให้นักอ่าน ลอกเลียนความประพฤติของพวกเขา
คนอ่านเรื่อง ผู้ยิ่งใหญ่เขาเหลียงซาน ทางที่ดีอย่าลอกเลียน หลี่ขุย เมื่อเล่นแพ้พนันก็แย่งชิงเงินทอง และอย่าได้เป็นเช่นซ้องกั๋ง ที่ฆ่าชู้รักซึ่งคอยข่มขู่รีดไถในดาบ เดียว หลินไต้อี้ผู้เป็นนางเอกของความรักในหอแดง แสดงว่าไม่ใช่แบบอย่างของสุภาพสตรียุคปัจจุบัน อุ้ยเซี่ยวป้อไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามมากมายเท่ากู่เป่าอี้ผู้เป็นตัวเอกของความรักในหอแดง อย่างน้อยอุ้ยเซี่ยวป้อต่างกับกู่เป่าอี้ที่รักร่วมเพศเดียวกัน
ยังมีหลู่ซิ่น เขียนประวัติของอาคิว ไม่ได้ให้ การสนับสนุนชัยชนะทางใจ ตัวละครในนิยายหากสมบูรณ์พร้อมเกินไป ออกจะไม่เป็นจริงเป็นจัง นิยายไม่ใช่หนังสือศีลธรรม แต่ ผู้ที่อ่านนิยายของข้าพเจ้ามีคนหนุ่มสาวจำนวนมาก ดังนั้นใคร่ขอเตือนสติเพื่อนผู้เยาว์วัยทั้งหลายว่า อุ้ยเซี่ยวป้อถือคุณธรรมน้ำมิตร นับเป็นความประพฤติที่ดี ส่วนการกระทำอย่างอื่นอย่าได้ลอกเลียน ปฏิบัติตาม
ข้าพเจ้าเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องยาวสิบสองเรื่อง เรื่องสั้นสามเรื่อง เรื่องแรกจอมใจจจอมยุทธ์ เขียนเมื่อปี ค.ศ.1955 เรื่องสั้นชิ้นสุดท้าย กระบี่สตรีแคว้นอ๊วก เขียนเมื่อเดือนมกราคม ปี1970 นิยาย เรื่องสั้นเรื่องยาวสิบห้าเรื่องใช้เวลาเขียนสิบห้าปี งานแก้ไขปรับปรุงใหม่เริ่มเมื่อเดือนมีนาคม ปปี ค.ศ. 1970 สิ้นสุดเมื่อกลางปี ค.ศ.1980 ใช้เวลาทั้งสิ้นสิบปี
แน่นอน ช่วงเวลานี้ยังทำงานอย่างอื่นอีกมาก มาย ส่วนสำคัญคือจัดทำหนังสือหมิงเป้ากับเขียนบทนำในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อพบกับนักอ่านที่แรกรู้จัก มักจะได้รับคำถาม "คุณชอบนิยายของตัวเองเรื่องไหนที่สุด?" คำถามนี้ ยากตอบได้ ดังนั้นมักไม่ตอบ หากเพียงเขียน"เรื่องที่ตัวเองรักชอบ" ข้าพเจ้ามีความรู้สึกผูกพันต่อเรื่อง มังกรหยกภาค 2 ดาบมังกรหยก จิ้งจอกอหังการ และ กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นพิเศษ
ทั้งมีคนไถ่ถาม "คุณเห็นว่านิยายของตัวเองเรื่องไหนดีที่สุด?" นี่เป็นกลเม็ดและคุณค่าของคำถาม ข้าพเจ้าเชื่อว่าเส้น ทางการเขียนของตัวเองมีความก้าวหน้า เขียนเรื่องยาวได้ดีกว่าเรื่องสั้นและเรื่องขนาดกลาง ผลงานยุค หลังดีกว่ายุคแรก แต่มีนักอ่านจำนวนมากไม่เห็นด้วย ข้าพเจ้าดีใจที่พวกเขาไม่เห็นด้วย
บทความจาก www.jadedragon.biz

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550


จูเซปเป ปันคาโร่ (Giuseppe Pancaro) เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1971 ปัจจุบันเล่นอยู่กับสโมสรโตริโน่ในตำแหน่งกองหลังผั่งขวา เริ่มเล่นอาชีพครั้งแรกกับสโมสรกายารี แล้วเคยประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดกับสโมสรลาซิโอในฤดูกาล 1999-2000
ตัวคูณร่วมน้อย

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

เทือกเขาอัลไต
เทือกเขาอัลไต เป็นเทือกเขาในเอเชียกลาง บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน และยังเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำอิร์ทีช (Irtysh) แม่น้ำโอบ (Ob) และแม่น้ำเยนิไซ (Yenisei) ด้วย ส่วนปลายทางตะวันตกเฮียงเหนือของเทือกเขา อยู่ที่พิกัด 52 องศาเหนือ กับระหว่าง 84 และ 90 องศาตะวันออก (ซึ่งไปจรดกลืนเขากับเทือกเขาสายัน (Sayan Mountains) ทางตะวันออก) และทอดยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงพิกัด 45 องศาเหนือ 99 องศาตะวันออก แล้วค่อยๆ ต่ำลง กลืนเข้ากับที่ราบสูงแห่งทะเลทรายโกบี
ชื่อ อัลไท ในภาษาตุรกี สะกด "Alytau" หรือ "Altay" มาจากศัพท์ Al (ทองคำ) และ tau (ภูเขา) ในภาษามองโกเลีย เรียกว่า อัลทาอิน-อูลา หมายถึง เทือกเขาแห่งทองคำ เทือกเขาแห่งนี้ ยังมีชื่อเรียกว่า เอก-ทัค (Ek-tagh),อัลไตแห่งมองโกล (Mongolian Altai) อัลไตใหญ่ (Great Altai) และอัลไตใต้ (Southern Altai)
เทือกเขาอัลไตยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไทย เนื่องจากเคยเชื่อกันว่า เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของชาวไทยสมัยโบราณ ก่อนจะอพยพลงมาจนถึงบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาเช่นนี้ปรากฏในตำราเรียน หรือหนังสือด้านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550


วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เคยเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญที่สุดในกรุงศรีอยุธยา เพราะนอกจากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุกลางเมืองแล้ว ยังเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้าง และ ดูแลตลอดเวลา

วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา ประวัติ
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่เก่าแก่และมีประวัติที่ไม่ค่อยจะชัดเจน บางฉบับบอกว่า ในปี พ.ศ. 1917 บางฉบับก็บอก พ.ศ. 1927 แต่อย่างไรก็ตาม ได้ใช้เวลาก่อสร้างไปเป็นจำนวนมาก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550


แทนซาเนีย หรือ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (ภาษาอังกฤษ: United Republic of Tanzania, ภาษาสวาฮีลี: Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จด แซมเบีย มาลาวี และโมแซมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยิกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนแกนยิกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อพ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม
ดินแดน: เซนต์เฮเลนา (สหราชอาณาจักร) · โซมาลิแลนด์ ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากประชาคมโลก แต่เป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา
กานา · กายอานา · เกรเนดา · แกมเบีย · คิริบาส · เคนยา · แคเมอรูน · แคนาดา · จาเมกา · ซามัว · เซเชลส์ · เซนต์คิตส์และเนวิส · เซนต์ลูเซีย · เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ · เซียร์ราลีโอน · แซมเบีย · โดมินิกา · ตรินิแดดและโตเบโก · ตองกา · ตูวาลู · แทนซาเนีย · โมซัมบิก · ไซปรัส · ไนจีเรีย · นามิเบีย · นาอูรู · นิวซีแลนด์ · บรูไน · บอตสวานา · บังกลาเทศ · บาร์เบโดส · บาฮามาส · เบลีซ · ปากีสถาน · ปาปัวนิวกินี · ฟิจิ · มอริเชียส · มอลตา · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · มาลาวี · ยูกันดา · เลโซโท · วานูอาตู · ศรีลังกา · สวาซิแลนด์ · สหราชอาณาจักร · สิงคโปร์ · หมู่เกาะโซโลมอน · ออสเตรเลีย · อินเดีย · แอนติกาและบาร์บูดา · แอฟริกาใต้
สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

ภาษาแม่
ภาษาแม่ (First language, native language หรือ mother tongue) คือ ภาษาที่บุคคลใช้เป็นภาษาพื้นฐานในการสื่อสาร ของตัวเองกับบุคคลในพื้นที่เดียวกัน และเป็นภาษาที่พูดได้แต่กำเนิด บุคคลที่พูดภาษาแม่เรียกว่า Native Speaker

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

ฉันทนา ธาราจันทร์
คุณ ฉันทนา ธาราจันทร์ หรือ น้าติ๋ม เป็นนักพากย์การ์ตูนชาวไทยที่มีชื่อเสียง ทำงานด้านการพากย์เสียงมานานกว่า 30 ปี ผลงานการพากย์เรื่องแรก คือ "ไทรตัน ลูกทะเล" แต่บทที่ทำให้ชื่อเสียงของเธอเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ โดราเอมอน ปัจจุบันน้าติ๋มพากย์การ์ตูนให้กับทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และ Rose Video เป็นต้น

แอนิเมชัน

เจ็ทแมน (วีดีโอสแควร์) พาทย์เสียงของ ไวท์สวอน
กาโอเรนเจอร์ (Rose) พากย์เสียงของ เทโทมุ และ สึเอะสึเอะ
เฮอร์ริเคนเจอร์ (Rose) พากย์เสียงเป็น ฮินาตะ โอโบโระ (ป้าโอโบโระ) และ เวนดีน
อาบะเรนเจอร์ (Rose) พากย์เสียงของ อิมานากะ เอมิริ (เอมิต๊อง) และ แจนนุ/มาโฮโระ
ขบวนการมือปราบผู้พิทักษ์ เดกะเรนเจอร์ (Rose) พากย์เสียงของ ชิราโทริ สวอน / เดกะสอวน

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

สัมมาอาชีวะ
สัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด

เลี้ยงชีพชอบ
ละการเลี้ยงชีพที่ผิด

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติ
สำเนียงที่สำคัญมี 4 สำเนียงคือ สำเนียง Yuehai ใช้พูดในกวางโจว ฮ่องกง และมาเก๊า สำเนียงไถ่ซาน ใช้พูดในไชน่าทาวน์ในสหรัฐก่อน พ.ศ. 2513 สำเนียง Gaoyan ใช้พูดใน Yanjiang และสำเนียง Guinan ใช้พูดในกวางสี โดยทั่วไป สำเนียงที่สำคัญที่สุดคือ สำเนียง Yuehai

ภาษากวางตุ้ง สัทวิทยา
โดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรจีนแบบเดียวกับภาษาจีนกลางแต่อ่านออกเสียงแบบภาษาจีนกวางตุ้ง มีการพัฒนาระบบการเขียนของภาษาจีนกวางตุ้งโดยเฉพาะในฮ่องกง มีการใช้อักษรที่แปลกไปจากภาษาจีนกลาง

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

โทโฮะกุ

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550


อาร์เจนตินา (Argentina) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก

ประวัติศาสตร์
ระบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข การแบ่งเขตบริหาร แบ่งเป็น 23 จังหวัด (Provinces) และ 1 เขตเมืองหลวงสหพันธ์
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
พรรคการเมืองสำคัญ พรรค Peronist (Justicialist Party) ของประธานาธิบดี Kirchner พรรค Radical Civic Union (UCR) และ พรรค Union of the Democratic Centre เป็นต้น

วุฒิสภา มีสมาชิก 72 คน มาจากการเลือกตั้งจากแต่ละจังหวัดและเขตเมืองหลวงสหพันธ์ เขตละ 3 คน มีวาระ 6 ปี
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 257 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุกสองปี ฝ่ายตุลาการ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงจำนวน 9 คน โดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา การเมือง

นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน

ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
แก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
สร้างความโปร่งใสของภาครัฐ
ปรับปรุงและให้ความสำคัญกับระบบการให้บริการของภาครัฐ
ทบทวนแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่มากขึ้น นโยบายการเมือง
ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้ง การเพิ่มความหลากหลายของสินค้าจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าด้านเกษตรกรรม ให้มีสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น และกำลังพิจารณาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (center of distribution) 25 เมืองทั่วโลก นอกจากนั้น รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการส่งออกซึ่งนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียน

การเปิดเสรีการค้า
การมีบทบาทสำคัญในกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR)
ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
นโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญคือ ส่งเสริมการส่งออกและวิสาหกิจ นโยบายเศรษฐกิจ

เน้นการบูรณาการและสร้างความเป็นพันธมิตรและการร่วมมือใน MERCOSUR และภูมิภาคอเมริกา โดยเฉพาะการมีบทบาทนำในการกระชับความร่วมมือและเสริมสร้างอำนาจต่อรองของกลุ่ม MERCOSUR
ดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่จริงจัง กว้างขวาง และรอบคอบ
การขยายตลาดและความร่วมมือไปยังเอเชีย โดยเฉพาะจีน เพื่อลดการพึ่งพิงตลาดดั้งเดิม (สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป)
กระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ โดยไม่เลือกระบอบการปกครอง
ยืนยันการคัดค้านการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ของสหราชอาณาจักรโดยสันติวิธี นโยบายต่างประเทศ

สถานการณ์ที่สำคัญ
ประธานาธิบดี Kirchner ยังคงมีสถานะทางการเมืองที่มั่นคง พรรค Peronist มีเสียง ข้างมากในรัฐสภา แต่ประสบปัญหาการแตกแยกภายในพรรค ทำให้นาย Kirshner ต้องบริหารประเทศอย่างยืดหยุ่น เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มการเมืองของอดีตประธานาธิบดี Carlos Menem และ ของอดีตประธานาธิบดี Eduardo Duhalde ควบคู่ไปกับการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การดำเนินนโยบายเสรีทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงระบบการให้บริการของภาครัฐ การปราบปรามการ ฉ้อราษฎร์บังหลวง และการโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประท้วงในบางกรณี ทั้งนี้ เพื่อรักษาระดับความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล

สถานะทางการเมืองของประธานาธิบดี
อาร์เจนตินาได้จัดการเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2548 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนครึ่งหนึ่ง (127 จาก 257 ที่นั่ง) และวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งในสาม (24 จาก 72 ที่นั่ง) มีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนร้อยละ 70.99 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยพรรค Frente para la Victoria (Front for Victory) ของนาย Kirchner ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และจากผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ นาย Kirchner ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคมากขึ้น โดยมีเสียงข้างมากในวุฒิสภา (42 จาก 72 ที่นั่ง) และเป็นพรรคใหญ่ที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร (109 จาก 257 ที่นั่ง) ทั้งนี้ นาย Rafael Bielsa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกรุงบัวโนสไอเรส โดยได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับ 3 การที่พรรค Front for Victory (ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของพรรค Peronist) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แสดงถึงการสนับสนุนของประชาชนส่วนใหญ่ต่อนาย Kirchner และนโยบายต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา เช่น การสนับสนุนรัฐสภาให้กดดันผู้พิพากษาศาลสูงสุด 3-4 คนที่ประธานาธิบดี Menem แต่งตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองให้ลาออก การปรับเปลี่ยนผู้นำทางทหารที่มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงที่รัฐบาลทหารปกครองประเทศ รวมทั้งนโยบายการเจรจาอย่างแข็งกร้าวกับ IMF และประเทศเจ้าหนี้

อาร์เจนตินา การเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ
อาร์เจนตินาประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงที่สุดเมื่อปี 2543 - 2545 หลังจาก เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี สาเหตุสำคัญมาจากภาวะชะงักงันของเงินทุน ต่างประเทศ การขาดดุลการคลัง และดุลการค้า และความพยายามของรัฐบาลที่จะรักษาระดับอัตรา แลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ระดับ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้นเศรษฐกิจของ อาร์เจนตินายังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งการระงับการจ่ายหนี้สินต่างประเทศ และการลดค่าเงินเปโซ
เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการขยายตัวของการส่งออกและการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นผลจากการลดค่าเงินเปโซ ซึ่งทำให้อาร์เจนตินาได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่รัฐบาลอาร์เจนตินาสามารถผลักดันนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการว่างงาน และการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าภายในประเทศ ล่าสุดนิตยสารด้านการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารโลก ได้จัดลำดับให้อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดอันดับ 77 ของโลก

การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำหรับประเด็นการชำระหนี้ IMF เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ประธานาธิบดี Kirchner ได้ตัดสินใจชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อ IMF ทั้งหมด โดยใช้เงินคงคลัง (reserves) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาชำระหนี้ที่มีต่อ IMF ซึ่งประธานาธิบดี Kirchner แถลงว่าการได้ดุลบัญชีเงินคงคลังและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อาร์เจนตินาสามารถชำระหนี้ได้ก่อนกำหนด และการชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะทำให้อาร์เจนตินามีอิสรภาพที่จะตัดสินใจดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่ IMF กำหนดไว้ในการเจรจาชำระหนี้ครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งการประกาศดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก

ในการดำเนินธุรกิจ =
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (SENASA) ของอาร์เจนตินาได้ประกาศการตรวจพบวัวจำนวน 70 ตัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในฟาร์มแห่งหนึ่งที่เมืองซานลูอิสเดลปาร์มาร์ (San Luis del Palmar) ในจังหวัดกอร์รีเอนเตสที่ตั้งทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา โดยผู้เชี่ยวชาญของ SENASA คาดว่าจะมีวัว 3,000 ตัวในบริเวณดังกล่าวที่อาจได้รับเชื้อโรค ทั้งนี้ วัวทั้ง 70 ตัวที่ติดเชื้อจะถูกกำจัดและ SENASA กำลังเร่งดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประกาศดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางการชิลีและบราซิลได้ประกาศยกเลิกการนำเข้าเนื้อวัวจากอาร์เจนตินาชั่วคราว และเร่งดำเนินมาตรการป้องการการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซิลและอุรุกวัยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อวัวที่สำคัญ ทั้งนี้ ได้เคยเกิดการแพร่ระบาดของโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2544 ส่งผลให้อาร์เจนตินาซึ่งเป็นผู้ส่งออกเนื้อวัวรายสำคัญของโลกต้องสูญเสียการส่งออกจำนวนมาก แต่หลังจากที่ได้พยายามควบคุมโรคและฉีดวัคซีนป้องกันโรคในวัว อาร์เจนตินาสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ทำให้มูลค่าการส่งออกเนื้อวัวของอาร์เจนตินาในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3 เท่าของมูลค่าการส่งออกในปี 2544

การตรวจพบวัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินา

อ าร์เจนตินามีบทบาทที่แข็งขันในสหประชาชาติโดยเฉพาะการสนับสนุนการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) เพื่อให้มีระบบการตัดสินใจที่โปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยส่งทหารไปร่วมปฏิบัติภารกิจ 7 แห่ง ได้แก่ เฮติ ไซปรัส โคโซโว ตะวันออกกลาง คองโก ซาฮาราตะวันตกและติมอร์ตะวันออก อาร์เจนตินามีศูนย์ฝึกอบรมสำหรับทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่จะร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ 2 แห่ง คือ Training Center for Blue Helmets (CAECOPAZ) ควบคุมโดยกองทัพอาร์เจนตินา และ Training Center for Members of Peace Missions Abroad (CENCAMEX) ควบคุมโดยกองกำลังตำรวจแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda) และศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (International Tribunals for the Former Yugoslavia)
อาร์เจนตินาได้รับเลือกเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC สำหรับปี 2548 ? 2549 โดยดำรงตำแหน่งประธาน UNSC (ซึ่งจะหมุนเวียนทุกเดือนโดยเรียงตามตัวอักษรประเทศ) ในเดือนมกราคม 2548 และเดือนเมษายน 2549
อาร์เจนตินาเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ African Union ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2545 และให้ความสำคัญในการร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกับแอฟริกา โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สันติภาพและการพัฒนา หน่วยงานของอาร์เจนตินา 2 แห่ง คือ Fund for Cooperation and Development (FO-AR) และ White Helmet ได้ให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศในแอฟริกา อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในด้านการเกษตร เหมืองแร่ในประเทศต่างๆ อาทิ อังโกลา และโมซัมบิก การฝึกสอนฟุตบอล การส่งทหารและแพทย์ไปร่วมในคณะรักษาสันติภาพที่โกตดิวัวร์และคองโก เป็นต้น
อาร์เจนตินาเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับประเทศพัฒนาแล้วในกรอบ G20 และ WTO เพื่อให้สหรัฐฯ และ EU ยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตรทั้งหมด การแบ่งเขตการปกครอง
(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

เศรษฐกิจ
ประชากรของอาร์เจนตินาส่วนใหญ่จะสืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป [2] (97% ของประชากร) โดยส่วนใหญ่มาจากสเปน อิตาลี เยอรมัน และอื่น ๆ

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

อาติแฟ็ก
อาติแฟ็กคือเวลาคนที่ทำบัคดิโอ้กับจอมเวทแล้ว(จูบ)เราก็จะได้ส่วนของจอมเวทนั้นมา(พลัง)แล้วเราก็จะได้ไพ่แบบ คากุระซากะ อาซึนะ,มิยาซากิ โนโดกะ,โคโนเอะ โคโนกะ,ซากุระซากิ เซ็ตซึนะ ไพ่ที่ได้มาจะเก็บพลังของเรา ไพ่จึงได้ชื่อว่าอาติแฟ็กแต่ก็ไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมถึได้ชื่อว่า"อาติแฟ็ก"

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

พวกสัตว์ทะเลผิวขรุขระพวกสัตว์ทะเลผิวขรุขระ
Homostelea
Homoiostelea
Stylophora
Ctenocystoidea Robison & Sprinkle, 1969
Crinoidea
Eocrinoidea Jaekel, 1899
Paracrinoidea Regnéll, 1945
Cystoidea von Buch, 1846
Ophiuroidea
Asteroidea
Echinoidea
Holothuroidea
Ophiocistioidea
Helicoplacoidea
Arkarua
Homalozoa
Edrioasteroidea
Cystoidea †
Eocrinoidea †
Edriaosteroidea
† = extinct
เอไคโนดอร์มาทา (Echinodermata) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสมาชิกได้แก่ ดาวทะเล ดาวเปราะ ปลิงทะเล เม่นทะเล พลับพลึงทะเลและเหรียญทะเล พบเฉพาะในทะเล ชื่อของไฟลัมหมายถึง "สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นหนาม" แต่ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่มีโครงร่างภายนอก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นหินปูน ทำให้ผิวลำตัวมักมีหนามรูปร่างต่างๆกัน เคลื่อนที่โดยใช้เท้าต่อ หายใจโดยใช้ปุ่มตามผิวหนัง หรือใช้ช่องเหงือกทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเล ดำรงชีวิตเป็นสัตว์หน้าดิน

Homalozoa Gill & Caster, 1960
Crinozoa
Asterozoa
Echinozoa
Pelmatozoa
Blastozoa ลักษณะสำคัญ
สัตว์ในไฟลัมนี้เป็นพวก Deuterostome มีช่องลำตัวแท้จริงซึ่งเกิดจากการแบ่งตัวมาจาก mesoderm สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถเคลื่อนที่ได้ดี แต่ช้าๆ โดยการใช้เครือข่ายแรงดันภายในระบบท่อน้ำ ซึ่งระบบท่อน้ำนี้พัฒนามาจาก coelom และยังทำหน้าที่หายใจ กินอาหาร สืบพันธุ์และหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนในร่างกาย
ตัวอ่อนของสัตว์ไฟลัมนี้มีสมมาตรแบบ 2 ส่วนเท่ากัน แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีสมมาตรแบบทรงรัศมี 5 แฉก การขับถ่าย และหัวใจไม่ชัดเจน เศษอาหารปล่อยออกทางปาก ระบบประสาทเป็น เส้นประสาทแบบวงแหวน อย่างง่ายๆ

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 98 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 446

พ.ศ. 98 วันเกิด

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

ตัวละครใน ซันวัลคัน

โอวาชิ ริวสุเกะ / วัลอีเกิ้ล (คนแรก)
ฮิบะ ทากายูกิ / วัลอีเกิ้ล (คนที่ 2)
ซาเมจิมะ คินยะ / วัลชาร์ค
เฮียว อาซาโอะ / วัลแพนเธอร์ ตัวละครหลัก

อาราชิยามะ ไดซาบุโร่
อาราชิยามะ มิสะ
ซีซี ตัวละครอื่นๆ
วัลคันเบรช
วัลคันสติ๊ก
วัลคันบอล
นิว วันคัลบอล

อุปกรณ์และอาวุธต่างๆของซันวัลคัน
ซันวัลคัล โรโบ

คอสโมวัลคัล
บลูวัลคัล
อาวุธ = ดาบพระอาทิตย์ ,วัลทอนฟา,วัลชิลด์,วัลแฮนด์ ,วัลคัลแคนน่อน
ท่าไม้ตาย = ออร่าพลาสม่า ,วัลคันซัน(ปล่อยแสงเป็นรูป V ใส่ศัตรู)
จากัวร์วัลคัล ยานแม่ที่ใช้บรรทุกยานคอมโมและบลู สามารถกัดยานของศัตรู หรือ ปล่อยมิซไซส์ได้

ซันวัลคัน จักรวรรดิ์จักรกล แบล็คแม๊กม่า

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550


รายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน (List of standard amino acids)
สูตรโครงสร้างและสัญญลักษณ์และรหัสพันธุกรรม(genetic code)ของ กรดอะมิโน 20 ตัวเป็นดังนี้
แสดงเป็นตารางที่มีทั้งสัญญลักษณ์ 1 ตัวอักษร และ 3 ตัวอักษร และคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งแตกต่างกันไปตาม โซ่ข้าง (side chains) น้ำหนักโมเลกุล ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของไอโซโทปทั้งหมดรวมทั้งน้ำหนักของน้ำด้วย (H2O)
รายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน
แสดงโดยศูตรโครงสร้าง (Structures)
แสดงรายชื่อกรดอะมิโนและคุณสมบัติทางเคมี (Chemical properties)

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550


เพ็ญศรี พุ่มชูศรี (17 มิถุนายน 2472 - 14 พฤษภาคม 2550) หรือชื่อเดิม ผ่องศรี พุ่มชูศรี รู้จักกันในชื่อเล่น ป้าโจ๊ว เป็นนักร้อง และครูสอนขับร้องเพลงไทยสากล เป็นนักร้องประจำวงดนตรีกรมโฆษณาการ หรือสุนทราภรณ์ ได้รับการคัดเลือกให้ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการบันทึกแผ่นเสียง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2534

เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ผลงานเพลง

เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ (file info)เปิดฟัง

  • คำร้อง : ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และสุภร ผลชีวิน
    ศีลห้า (file info)เปิดฟัง

    • คำร้อง-ทำนอง : ศิวะ วรนาฏ
      ขวัญของเรียม (file info)เปิดฟัง

      • คำร้อง-ทำนอง : พรานบูรพ์
        คนจะรักกัน (file info)เปิดฟัง

        • คำร้อง-ทำนอง : พยงค์ มุกดา
          คนึงครวญ (file info)เปิดฟัง

          • คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
            ความรักเจ้าขา (file info)เปิดฟัง

            • คำร้อง : สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
              เจ้าพระยาร้องไห้ (file info)เปิดฟัง

              • คำร้อง-ทำนอง : กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ
                ไฟรัก (file info)เปิดฟัง

                • คำร้อง : ทำนอง :
                  ม่านไทรย้อย (file info)เปิดฟัง

                  • ทำนอง : ปีเตอร์ ไชคอฟสกี้ คำร้อง : ไสล ไกรเลิศ ไวโอลิน-เรียบเรียง : สุทิน เทศารักษ์
                    รัตติกาล (file info)เปิดฟัง

                    • คำร้อง-ทำนอง : ธีระศักดิ์ อัจจิมานนท์ ขับร้อง : สุเทพ วงศ์กำแหง, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
                      วิหคในกรงทอง (file info)เปิดฟัง

                      • คำร้อง-ทำนอง : นคร มังคลายน
                        วิหคเหิรลม (file info)เปิดฟัง

                        • คำร้อง : สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
                          แสงดาวแห่งศรัทธา (file info)เปิดฟัง

                          • คำร้อง-ทำนอง : สุธรรม บุญรุ่ง (จิตร ภูมิศักดิ์)
                            หนามชีวิต (file info)เปิดฟัง

                            • คำร้อง-ทำนอง : ไพบูลย์ บุตรขัน