วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อุ้ยเสี่ยวป้อ
อุ้ยเสี่ยวป้อ อุ้ยเสี่ยวป้อ (Lu Ding Ji : เต็กเตี้ยกี้ - ไร้กระบวนท่าสยบกระบวนท่าทั้งแผ่นดิน) เป็นนิยายเรื่องสุดท้ายของ กิมย้ง ซึ่ง เหง่ยคัง ถือว่าเรื่องนี้เป็นสุดยอดพัฒนาการทางการประพันธ์ของกิมย้ง และเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือกิมย้งว่า " ไม่มีใครเป็นคู่แข่งได้ " ความเป็นยอดของเรื่องนี้อยู่ที่เป็นนิยายกำลังภายในที่ไม่ใช่นิยายกำลังภายใน นิยายกำลังภายในโดยทั่วไปมีขนบในการแต่งที่เห็นได้ง่ายอยู่สองประการคือ ตัวเอกต้องเป็นจอมยุทธหรืออย่างน้อยต้องมีวิทยายุทธ และตัวเอกต้องเป็นคนดีในแง่ของคุณธรรม แต่อุ้ยเสี่ยวป้อในเรื่องนี้มีลักษณะตรงข้ามกับขนบดังกล่าวทุกประการ ลักษณะดังกล่าวไม่เคยปรากฏในนิยายกำลังภายในเรื่องใดมาก่อน และเหง่ยคังว่าไม่มีเรื่องอื่นอีกต่อไป เรื่องนี้กิมย้งหันกลับไปใช้ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรพรรดิคังซี แห่ง ราชวงศ์ชิง มีส่วนสะท้อนการเมืองในจีนแผ่นดินใหญ่หลังปฏิวัติวัฒนธรรมอยู่ไม่น้อย แต่ความเด่นอยู่ที่สะท้อนธรรมชาติวิสัยมนุษย์ในสังคมปัจจุบันที่ต้องลดมาตราฐานศีลธรรมลงเพื่อความอยู่รอด เป็นนิยายที่มุ่มสะท้อนความจริงมากกว่าจะชี้นำผู้อ่านอย่างที่กิมย้งเคยสอดแทรกไว้ในแทบทุกเรื่องนับเป็นการแหวกวงล้อมครั้งยิ่งใหญ่ของนักประพันธ์เอกผู้นี้
ในด้านศิลปะการประพันธ์นั้น งานของกิมย้งมีความประณีตแยบยลทุกด้าน ที่เห็นได้ชัดคือ ด้านสำนวนภาษา กิมย้งมีทัศนะว่านิยายกำลังภายในเป็นวรรณกรรมแบบจีนแท้ แม้จะใช้ศิลปะการประพันธ์นวนิยายช่วยในการแต่ง แต่ไม่ควรใช้สำนวนภาษาแบบนวนิยาย ของตะวันตก ควรใช้สำนวนภาษาแบบนิยายรุ่นเก่าเช่นสามก๊กของจีน เป็นแนวทางพัฒนาให้เหมาะแก่ยุคสมัย
บางส่วนจากคำอธิบายในหนังสือสกัดจุดยุทธจักรมังกรหยก เต๊กเตี้ยกี้ (ลูติ่งจี้) เรื่องนี้ น.นพรัตน์แปล ครั้งแรกใช้ชื่อว่า 'เหยียบยอดยุทธจักร' ต่อมา เปลี่ยนเป็นเรื่อง 'อุ้ยเสียวป้อ' ตามชื่อพระเอกในเรื่อง ชื่อของนิยายเรื่องนี้หาคำไทยที่เหมาะสม แปลให้ตรงความหมายในภาษาจีนได้ยาก เต๊กปกติแปลว่า กวาง แต่โดยอุปมาหมายถึงสิ่งที่หมายจะ ล่าหรือแย่งชิงเอาให้ได้ ซึ่งมักเจาะจงหมายถึงอำนาจทางการเมืองหรือตำแหน่งกษัตริย์ เตี้ยแปลว่า กระถางธูปใหญ่อย่างที่ใช้ในศาลเจ้าจีน ของโบราณมีสามขา ใช้เป็นกระถางธูปในปราสาทเทพบิดร กระถางธูปสามขาตึงเป็นเครื่องหมายของการตั้งราชวงศ์ การมีอำนาจปกครองบ้านเมือง กี่แปลว่า การจดบันทึก เรื่องที่จดบันทึกไว้หรือประวัติ พอจะแปลรวมอย่างเอาความได้ว่า "บันทึกเรื่อง ไอศูรย์ราช" "บันทึกเรื่องบัลลังก์ราชย์" หรือ "บันทึกเรื่องบัลลังก์ราชัน" อันหมายถึงเรื่องของ พระจักรพรรดิคังซีซึ่งเป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องนี้
คำตามโดยท่านกิมย้ง (จากหนังสืออุ้ยเซี่ยวป้อ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ G Book แปล โดยท่านน.นพรัตน์)
เรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อเริ่มนำลงในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1969 จวบกระทั่ง วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1972 ค่อยนำลงจบเรื่อง ใช้เวลานำลงสองปีกับอีกสิบเอ็ดเดือน
ข้าพเจ้าเขียนนิยายกำลังภายในนำลงในหนังสือพิมพ์ชนิดวันต่อวันนี้ เขียนตอนหนึ่ง ตีพิมพ์ในวัน พรุ่งนี้ ดังนั้นหมายความว่านิยายเรื่องนี้ก็ใช้เวลาเขียนติดต่อกันสองปีกับอีกสิบเอ็ดเดือน หากว่าไม่มี สิ่งนอกเหนือความคาดหมาย (ในชีวิตของคนมักมีสิ่งนอกเหนือความคาดหมาย) นี่นับเป็นนิยายกำลัง ภายในเรื่องสุดท้ายของข้าพเจ้า
แต่เรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อไม่คล้ายนิยายกำลังภายใน มิสู้บอกว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ ระหว่างที่นิยาย เรื่องนี้นำลงในหนังสือพิมพ์ มักมีนักอ่านเขียนจดหมายมาไต่ถาม "อุ้ยเซี่ยวป้อใช่เป็นคนอื่นเขียนแทน หรือไม่?" เนื่องเพราะพวกเขาพบว่านี่ต่างกับผลงานที่แล้วมาของข้าพเจ้านัก
ซึ่งความจริงนี่เป็นผลงานการเขียนของข้าพเจ้าทั้งสิ้น ต้องขอขอบคุณผู้อ่านทั้งหลายที่ให้ความเมตตา และผ่อนผันแก่ข้าพเจ้า เมื่อพวกเขาไม่พอใจผลงานเรื่องใด หรือตอนไหนของข้าพเจ้า จะทึกทักว่า เป็นคนอื่นเขียนแทน รักษาความดีไว้ให้กับข้าพเจ้า ผลักความไม่พอใจไปที่ "คนเขียนแทน" ซึ่งนึกวาด มโนภาพไว้ เรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อต่างกับนิยายกำลังภายในของข้าพเจ้า นั่นเป็นความจงใจ
นักเขียนคนหนึ่งไม่ควร ย้อนรอยรูปแบบและลักษณะของตัวเอง ควรพยายามหาทางสร้างสรรค์ใหม่ มีนักอ่านบางคนไม่ชอบเรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อ เพราะสืบเนื่องจากความประพฤติของตัวเองของเรื่อง ซึ่งตรงข้ามกับความคิดอ่านทั่วไป นักอ่านนิยายกำลังภายในคุ้นกับการพาตัวเองแทนที่วีรบุรุษใน หนังสือ
แต่อุ้ยเซี่ยวป้อผู้นี้ไม่สามารถแทนที่ได้ ทางด้านนี้ได้ลิดรอนความสุขบางประการของนักอ่าน ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจยิ่ง แต่ตัวเอกในนิยายไม่แน่ว่าต้องเป็น "คนดี" หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของนิยายคือสร้างสรรค์ตัวละคร ทั้งคนดี คนชั่ว คนดีที่มีข้อบกพร่อง คนชั่วที่มีจุดเด่นทั้งหลายทั้งปวง ล้วนแล้วแต่นำมาเขียนได้ แผ่น ดินจีนในยุคสมัยคังฮีฮ่องเต้ บุคคลเช่นอุ้ยเซี่ยวป้อมิใช่เป็นไปไม่ได้ นักเขียนสร้างสรรค์บุคคลคนหนึ่ง ไม่แน่ว่ามีเจตนาให้เป็นแบบลักษณะที่แน่นอน เพียงแต่บรรยายว่ามีบุคคลเช่นนี้ ไม่ได้ชักชวนให้นักอ่าน ลอกเลียนความประพฤติของพวกเขา
คนอ่านเรื่อง ผู้ยิ่งใหญ่เขาเหลียงซาน ทางที่ดีอย่าลอกเลียน หลี่ขุย เมื่อเล่นแพ้พนันก็แย่งชิงเงินทอง และอย่าได้เป็นเช่นซ้องกั๋ง ที่ฆ่าชู้รักซึ่งคอยข่มขู่รีดไถในดาบ เดียว หลินไต้อี้ผู้เป็นนางเอกของความรักในหอแดง แสดงว่าไม่ใช่แบบอย่างของสุภาพสตรียุคปัจจุบัน อุ้ยเซี่ยวป้อไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามมากมายเท่ากู่เป่าอี้ผู้เป็นตัวเอกของความรักในหอแดง อย่างน้อยอุ้ยเซี่ยวป้อต่างกับกู่เป่าอี้ที่รักร่วมเพศเดียวกัน
ยังมีหลู่ซิ่น เขียนประวัติของอาคิว ไม่ได้ให้ การสนับสนุนชัยชนะทางใจ ตัวละครในนิยายหากสมบูรณ์พร้อมเกินไป ออกจะไม่เป็นจริงเป็นจัง นิยายไม่ใช่หนังสือศีลธรรม แต่ ผู้ที่อ่านนิยายของข้าพเจ้ามีคนหนุ่มสาวจำนวนมาก ดังนั้นใคร่ขอเตือนสติเพื่อนผู้เยาว์วัยทั้งหลายว่า อุ้ยเซี่ยวป้อถือคุณธรรมน้ำมิตร นับเป็นความประพฤติที่ดี ส่วนการกระทำอย่างอื่นอย่าได้ลอกเลียน ปฏิบัติตาม
ข้าพเจ้าเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องยาวสิบสองเรื่อง เรื่องสั้นสามเรื่อง เรื่องแรกจอมใจจจอมยุทธ์ เขียนเมื่อปี ค.ศ.1955 เรื่องสั้นชิ้นสุดท้าย กระบี่สตรีแคว้นอ๊วก เขียนเมื่อเดือนมกราคม ปี1970 นิยาย เรื่องสั้นเรื่องยาวสิบห้าเรื่องใช้เวลาเขียนสิบห้าปี งานแก้ไขปรับปรุงใหม่เริ่มเมื่อเดือนมีนาคม ปปี ค.ศ. 1970 สิ้นสุดเมื่อกลางปี ค.ศ.1980 ใช้เวลาทั้งสิ้นสิบปี
แน่นอน ช่วงเวลานี้ยังทำงานอย่างอื่นอีกมาก มาย ส่วนสำคัญคือจัดทำหนังสือหมิงเป้ากับเขียนบทนำในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อพบกับนักอ่านที่แรกรู้จัก มักจะได้รับคำถาม "คุณชอบนิยายของตัวเองเรื่องไหนที่สุด?" คำถามนี้ ยากตอบได้ ดังนั้นมักไม่ตอบ หากเพียงเขียน"เรื่องที่ตัวเองรักชอบ" ข้าพเจ้ามีความรู้สึกผูกพันต่อเรื่อง มังกรหยกภาค 2 ดาบมังกรหยก จิ้งจอกอหังการ และ กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นพิเศษ
ทั้งมีคนไถ่ถาม "คุณเห็นว่านิยายของตัวเองเรื่องไหนดีที่สุด?" นี่เป็นกลเม็ดและคุณค่าของคำถาม ข้าพเจ้าเชื่อว่าเส้น ทางการเขียนของตัวเองมีความก้าวหน้า เขียนเรื่องยาวได้ดีกว่าเรื่องสั้นและเรื่องขนาดกลาง ผลงานยุค หลังดีกว่ายุคแรก แต่มีนักอ่านจำนวนมากไม่เห็นด้วย ข้าพเจ้าดีใจที่พวกเขาไม่เห็นด้วย
บทความจาก www.jadedragon.biz

ไม่มีความคิดเห็น: