วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประวัติ

โทมัส ยัง ผลงาน
ประมาณปี พ.ศ. 2344 โทมัสได้ทดลองส่องแสงผ่านช่องคู่เล็ก ๆ ที่เจาะไว้บนพื้นทึบ เขาสังเกตเห็นแถบมืดสลับกับแถบสว่างบริเวณฉากซึ่งอยู่ไกลออกไป จนเกิดแนวคิดว่า แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง

การทดลองการแทรกสอดของแสงผ่านช่องคู่

ดูบทความหลักที่ มอดุลัสของยัง การแพทย์
โทมัสเป็นผู้หนึ่งที่พยายามปริวรรต (การถอดตัวอักษรจากระบบอักษรหนึ่งไปหาอีกระบบอักษรหนึ่ง) หลักศิลาจารึกโรเซตต้า โดยใช้อักษรที่มีผู้จัดทำไว้ก่อนแล้ว คือ ซิลแวสเตรอ เดอ ซาซี (Silvestre de Sacy) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และโยฮัน ดาวิด ออเกอบลัด (Johan David Åkerblad) นักการทูตชาวสวีเดน ทว่าโทมัสทำได้เพียงส่วนหนึ่ง แล้วก็ล้มเหลวในการเรียนอักษรนี้ ต่อมาเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Account of the Recent Discoveries in Hieroglyphic Literature and Egyptian Antiquities เกี่ยวกับผลงานของเขาเอง
ในเวลาต่อมา ชอง-ฟรองซัว ชองโปลิยง (Jean-François Champollion) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสทำการปริวรรตได้สำเร็จ โทมัสเมื่อทราบเรื่องก็พยายามแก้ข่าวว่า ชองได้ใช้ผลงานของเขาช่วยในการปริวรรต และจะขอเป็นส่วนหนึ่งของผลงานด้วย แต่ชองไม่ยอม จนเกิดการแบ่งฝักฝ่ายทางความคิดระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในที่สุดชองได้ใช้ความรู้ด้านอักษรเฮียโรกลิฟฟิกที่เหนือกว่าของโทมัส อธิบายว่า โทมัสแปลผิดหลักไวยากรณ์หลายจุด ในที่สุดผลงานจึงตกเป็นของชองคนเดียว
อย่างไรก็ดี ชองได้ให้โทมัสมาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟ (Musée du Louvre) ซึ่งตัวชองเองก็เป็นภัณฑารักษ์อยู่ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น: