วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550
แมคโอเอสเท็น (Mac OS X) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดในตระกูลแมคโอเอสสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2001 ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ แกนกลาง ดาร์วิน (Darwin) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานแบบยูนิกซ์ที่เป็นโอเพนซอร์ส และส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ อควา (Aqua) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของแอปเปิล คอมพิวเตอร์เอง
ชื่อเรียก
แมคโอเอสเท็นรุ่นต่างๆ
วางจำหน่าย 24 มีนาคม ค.ศ. 2001 ได้รับคำชมในเรื่องความเสถียรและความสามารถ แต่มีปัญหาในด้านความเร็วในการทำงาน ราคาจำหน่าย 129$
Mac OS X v10.0 "Cheetah"
ออก 25 กันยายน ค.ศ. 2001 ไม่ได้วางจำหน่าย แต่แจกเป็นชุดอัพเกรดฟรีสำหรับ Cheetah เพิ่มความเร็วในการทำงาน และความสามารถอื่นๆ เช่น การเล่นดีวีดี
Mac OS X v10.1 "Puma"
วางจำหน่าย 24 สิงหาคม ค.ศ. 2002 เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน หน้าตาแบบใหม่ และความสามารถ เช่น
สนับสนุนเครือข่ายที่เป็นไมโครซอฟท์วินโดวส์
iChat - โปรแกรมแชททันใจ (instant messenger)
Apple Rendezvous - การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบอัตโนมัติ
CUPS (The Common Unix Printing System) - ระบบการพิมพ์'กลาง'ของระบบยูนิกซ์ Mac OS X v10.2 "Jaguar"
วางจำหน่าย 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 พัฒนาความสามารถด้านอื่นเพิ่มขึ้น แต่หยุดสนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบ G3 แล้ว ความสามารถเด่นมีดังนี้
Exposé - การแสดงหน้าต่างทำงานทั้งหมดในหน้าจอเดียว ทำให้ผู้ใช้เปลี่ยนหน้าต่างทำงานได้อย่างรวดเร็ว
Fast User Switching
FileVault
เพิ่มการสนับสนุนสถาปัตยกรรม G5
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริงเป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา คำนี้ในวงวัดส่วนใหญ่เขียนตามของเดิมว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฐิ ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค
สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง คือเห็นว่าการให้ทานมีผลจริง การบูชามีผลจริง การเคารพบูชามีผลจริง ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง คุณของมารดามีจริง คุณของบิดามีจริง พวดโอปปาติกะ (พวกเกิดทันทีเช่นเทวดา) มีจริง สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550
บริษัท ทรู มูฟ จำกัด (True Move) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งในประเทศไทย เดิมเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเทเลคอม เอเชีย กับกลุ่มออเร้นจ์จากประเทศฝรั่งเศส ในชื่อ ทีเอ ออเร้นจ์ แต่ใน พ.ศ. 2547 กลุ่มออเร้นจ์ได้ถอนทุนออกไปจากประเทศไทย ทางเทเลคอมเอเชียซึ่งเป็นบริษัทแม่จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นทรู คอร์ปอเรชั่น และเปลี่ยนชื่อ ทีเอ ออเร้นจ์ เป็น ทรู มูฟ
วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550
อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 7
อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 7
ผู้เข้าแข่งขัน
??? ?????
วิทยากรพิเศษประจำสัปดาห์
อาหารและอุปกรณ์การกิน
อุปกรณ์ส่องสว่าง
เครื่องอุปโภค
อุปกรณ์ช่วยบันทึก
อุปกรณ์ตัด ติด ต่อ
โทรศัพท์มือถือที่โทรได้ 1 นาที
อุปกรณ์ช่วยมัด
ปริศนา ที่จะใช้ในภารกิจที่ 3 อุปกรณ์ในชุดยังชีพ
ตั้งสมุดหน้าเหลือง 30 เล่มให้สูงที่สุด โดยใช้อุปกรณ์จากชุดยังชีพได้ โดยแบ่งเป็นทีมละ 2 คน ทีมที่ทำความสูงได้น้อยที่สุด ตกรอบ
ภารกิจที่ 1
อันดับ 1 วัชรพันธุ์ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี - แพทย์หญิง อุษา ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ทำได้สูง 297 เซนติเมตร
อันดับ 2 ศุภวัชช์ นักเรียนทุน กพ. - จตุพร วิศวกรด้านการขุดเจาะน้ำมัน ทำได้สูง 209 เซนติเมตร
อันดับ 3 ธรรมรัตน์ แชมป์บั้งไฟ - จิรายุ 1 ใน 10 เกียรตินิยม UCLA ทำได้สูง 114เซนติเมตร 5มิลเมตร
อันดับ 4 บันฑิต ปลัด อบต. - วุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ทำได้สูง 113 เซนติเมตร ตกรอบ
ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
เรียงลำดับน้ำหนักหนังสือ 7 เล่ม จากมากไปหาน้อยโดยวิธีใดก็ได้ โดยแบ่งเป็นทีมละ 2 คน ทีมที่เรียงได้ถูกต้องได้น้อยที่สุด ตกรอบ
ภารกิจที่ 2
อันดับ 1 วัชรพันธุ์ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี - ศุภวัชช์ นักเรียนทุน กพ. ทำได้ 7 เล่ม
อันดับ 2 แพทย์หญิง อุษา ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง - จตุพร วิศวกรด้านการขุดเจาะน้ำมัน ทำได้ 3 เล่ม
อันดับ 3 จิรายุ 1 ใน 10 เกียรตินิยม UCLA - ธรรมรัตน์ แชมป์บั้งไฟ ทำได้ 2 เล่ม ตกรอบ
ภารกิจที่ 3
วัชรพันธุ์ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี (เข้าชิงคนที่ 1)
ศุภวัชช์ นักเรียนทุน กพ. (เข้าชิงคนที่ 2)
แพทย์หญิง อุษา ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ตกรอบ
จตุพร วิศวกรด้านการขุดเจาะน้ำมัน ตกรอบ ผลการแข่งขัน
"กลับหัวขายอังกฤษ"
หมายความว่า ให้กลับหัวคำว่าขายในภาษาอังกฤษ
คำว่าขายในภาษาอังกฤษคือ SELL เมื่อเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่แล้วกลับหัวคำดังกล่าวจะกลายเป็นเลข 7735
รหัสนี้ถอดได้เป็น 7735 ภารกิจสุดท้าย - ตอบคำถาม
ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติมีสถานที่ที่สำคัญและน่าสนใจอยู่มากมาย โดยหนึ่งในนั้นก็คือ หอวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อฉลองวันพระบรมราชสมภพ 100 ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยภายในมีทั้งส่วนที่เป็นห้องสมุด ห้องประชุม โรงละคร และที่สำคัญคือชั้น 3 ซึ่งจะมีพระบรมราชะประทรรศนีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็คือนิทรรศการถาวรพระบรมรูปหุ่นขี้ผึ้งรัชกาลที่ 6 ที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก โดยจะมีทั้งหมด 12 ห้อง แบ่งตามพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ โดยห้องแรกมีชื่อว่า เสวยราชสมบัติ ห้องที่สองมีชื่อว่า ทัดเทียมประเทศอารยะ ถามว่า พระบรมราชะประทรรศนีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ นิทรรศการถาวรพระบรมรูปหุ่นขี้ผึ้งรัชกาลที่ 6 ห้องที่ 6 มีชื่อว่าอะไร
คำตอบ:ให้สู้และอดทน
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ต้วนล่าง ตัวละครในนิยายกำลังภายในเรื่อง ฟงอวิ๋น ขี่พายุทะลุฟ้า เคยเป็นเพื่อนรักของ เนี่ยฟง มาก่อน แต่เพราะด้วยความทะเยอทะยานต้วนล่างจึงหักหลังเนี่ยฟงได้ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อความเป็นใหญ่ ต้วนล่าง เคยกินธาตุมังกรเข้าไป1เม็ด จึงทำให้มีพลังเทียบเท่ากับ เนี่ยฟง และ ปู้จิงอวิ๋น แต่ต้วนล่างก็ได้กินธาตุมังกรเข้าไปอีก1เม็ด ซึ่งขโมยมาจาก ตี้ซื่อเทียน จึงทำให้ ต้วนล่าง นั้นมีพลังเหนือกว่า เนี่ยฟง และ ปู้จิงอวิ๋น อยู่มาก แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ เพราะ เนี่ยฟง ปู้จิงอวิ๋น อู๋หมิง และ พี่ชายของ ฮ่องเต้ ร่วมมือกันต่อสู้ แต่ ฟงอวิ๋น ก็ได้รับบาดเจ็บ สาหัส จึงต้องขังตัวเองไว้ในน้ำแข็ง รอให้คนหาธาตุมังกรมาช่วย
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 (ชื่อย่อ คตส.) เป็นคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน อดีตคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลที่ผ่านมา ในเรื่องที่ได้กระทำการให้รัฐเสียหายไม่เฉพาะแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น ตั้งขึ้นตาม ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30
นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบ
นายกล้านรงค์ จันทิก
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
นายจิรนิติ หะวานนท์
นายบรรเจิด สิงคะเนติ
นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์
นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ลาออก)
นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์
นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
นายอำนวย ธันธรา บทบาท อำนาจหน้าที่
วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ประวัติ
ผลงาน
ประมาณปี พ.ศ. 2344 โทมัสได้ทดลองส่องแสงผ่านช่องคู่เล็ก ๆ ที่เจาะไว้บนพื้นทึบ เขาสังเกตเห็นแถบมืดสลับกับแถบสว่างบริเวณฉากซึ่งอยู่ไกลออกไป จนเกิดแนวคิดว่า แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง
การทดลองการแทรกสอดของแสงผ่านช่องคู่
ผลงาน
ประมาณปี พ.ศ. 2344 โทมัสได้ทดลองส่องแสงผ่านช่องคู่เล็ก ๆ ที่เจาะไว้บนพื้นทึบ เขาสังเกตเห็นแถบมืดสลับกับแถบสว่างบริเวณฉากซึ่งอยู่ไกลออกไป จนเกิดแนวคิดว่า แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง
การทดลองการแทรกสอดของแสงผ่านช่องคู่
ดูบทความหลักที่ มอดุลัสของยัง การแพทย์
โทมัสเป็นผู้หนึ่งที่พยายามปริวรรต (การถอดตัวอักษรจากระบบอักษรหนึ่งไปหาอีกระบบอักษรหนึ่ง) หลักศิลาจารึกโรเซตต้า โดยใช้อักษรที่มีผู้จัดทำไว้ก่อนแล้ว คือ ซิลแวสเตรอ เดอ ซาซี (Silvestre de Sacy) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และโยฮัน ดาวิด ออเกอบลัด (Johan David Åkerblad) นักการทูตชาวสวีเดน ทว่าโทมัสทำได้เพียงส่วนหนึ่ง แล้วก็ล้มเหลวในการเรียนอักษรนี้ ต่อมาเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Account of the Recent Discoveries in Hieroglyphic Literature and Egyptian Antiquities เกี่ยวกับผลงานของเขาเอง
ในเวลาต่อมา ชอง-ฟรองซัว ชองโปลิยง (Jean-François Champollion) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสทำการปริวรรตได้สำเร็จ โทมัสเมื่อทราบเรื่องก็พยายามแก้ข่าวว่า ชองได้ใช้ผลงานของเขาช่วยในการปริวรรต และจะขอเป็นส่วนหนึ่งของผลงานด้วย แต่ชองไม่ยอม จนเกิดการแบ่งฝักฝ่ายทางความคิดระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในที่สุดชองได้ใช้ความรู้ด้านอักษรเฮียโรกลิฟฟิกที่เหนือกว่าของโทมัส อธิบายว่า โทมัสแปลผิดหลักไวยากรณ์หลายจุด ในที่สุดผลงานจึงตกเป็นของชองคนเดียว
อย่างไรก็ดี ชองได้ให้โทมัสมาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟ (Musée du Louvre) ซึ่งตัวชองเองก็เป็นภัณฑารักษ์อยู่ที่นี่
โทมัสเป็นผู้หนึ่งที่พยายามปริวรรต (การถอดตัวอักษรจากระบบอักษรหนึ่งไปหาอีกระบบอักษรหนึ่ง) หลักศิลาจารึกโรเซตต้า โดยใช้อักษรที่มีผู้จัดทำไว้ก่อนแล้ว คือ ซิลแวสเตรอ เดอ ซาซี (Silvestre de Sacy) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และโยฮัน ดาวิด ออเกอบลัด (Johan David Åkerblad) นักการทูตชาวสวีเดน ทว่าโทมัสทำได้เพียงส่วนหนึ่ง แล้วก็ล้มเหลวในการเรียนอักษรนี้ ต่อมาเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Account of the Recent Discoveries in Hieroglyphic Literature and Egyptian Antiquities เกี่ยวกับผลงานของเขาเอง
ในเวลาต่อมา ชอง-ฟรองซัว ชองโปลิยง (Jean-François Champollion) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสทำการปริวรรตได้สำเร็จ โทมัสเมื่อทราบเรื่องก็พยายามแก้ข่าวว่า ชองได้ใช้ผลงานของเขาช่วยในการปริวรรต และจะขอเป็นส่วนหนึ่งของผลงานด้วย แต่ชองไม่ยอม จนเกิดการแบ่งฝักฝ่ายทางความคิดระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในที่สุดชองได้ใช้ความรู้ด้านอักษรเฮียโรกลิฟฟิกที่เหนือกว่าของโทมัส อธิบายว่า โทมัสแปลผิดหลักไวยากรณ์หลายจุด ในที่สุดผลงานจึงตกเป็นของชองคนเดียว
อย่างไรก็ดี ชองได้ให้โทมัสมาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟ (Musée du Louvre) ซึ่งตัวชองเองก็เป็นภัณฑารักษ์อยู่ที่นี่
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550
GAT-X105 สไตรค์กันดั้ม(ญี่ปุ่น:ストライクガンダム ;อังกฤษ:Strike Gundam) เป็นโมบิลสูทตัวเอกเครื่องแรกในการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้มซี้ด ออกแบบโดยจุนอิจิ อะคุทสึ
สไตรค์กันดั้มเป็นหนึ่งในGAT-X ซีรี่ส์ทั้งห้าที่พันธมิตรโลกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโต้โมบิลสูท ของ ซาฟท์ ซึ่งโมบิลสูททั้งห้านั้นล้วนแต่ใช้เทคโนโลยีใหม่นั่นคือเกราะเฟสชิฟท์อาเมอร์(Phase Shift Armor) ซึ่งนิยมเรียกสั้นๆว่า PS เมื่อเปิดใช้งาน เกราะเฟสชิฟท์จะสร้างสนามพลังคลุมตัวเกราะไว้ ทำให้การโจมตีด้วยอาวุธที่ไม่ใช่บีมแทบจะไม่มีผลกับกันดั้ม แต่เนื่องจากกันดั้มต้องใช้แบ็ตเตอรีเป็นแหล่งพลังงานเพื่อให้ใช้งานในสนามรบที่มีนิวตรอนแจมเมอร์ได้จึงใช้เกราะเฟสชิฟท์ได้ในเวลาจำกัดเท่านั้น เมื่อปิดเฟสชิฟท์ เกราะของกันดั้มก็จะกลายเป็นสีเทา
ประวัติอย่างย่อ
สไตรค์กันดั้มเป็นกันดั้มเพียงเครื่องเดียวที่ไม่ได้ถูกซาฟท์ขโมยไปที่เฮลิโอโปลิส เนื่องจากนักบินเอซไพลอทที่ต้องขโมยสไตรค์กันดั้มนั้นถูกยิงตายก่อน ในช่วงเวลาที่คิระใช้งานสไตรค์ได้ต่อสู้กับซาฟท์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากกันดั้มที่ถูกชิงไปทั้งสี่เครื่องแล้วยังมีนักบินระดับเอซอย่าง มิเกล ไอน์แมน และ แอนดรูว์ วอลเฟลต์ จนกระทั่งสไตรค์กันดั้มได้รับความเสียหายอย่างหนักในการต่อสู้กับ อีจิสกันดั้ม ของ อัสรัน ซาล่า
เมื่อระบบปฏิบัติการผ่านการปรับแต่งโดยคิระจนสมบูรณ์แล้ว สไตรค์กันดั้มซึ่งได้รับการซ่อมแซมโดยอาณาจักรอ็อบก็กลายเป็นโมบิลสูทประจำตัวของมูว์ ลา ฟลากา ยอดนักบินของพันธมิตรโลกแทน นอกจากนี้ยังมี MBF-02 สไตรค์รูจ ซึ่งเป็นสไตรค์กันดั้มของคางาริ ยูระ อัสฮาซึ่งสร้างจากอะไหล่ของสไตรค์กันดั้มที่อยู่ในยานคุซานางิ ซึ่งสไตรค์รูจนั้นสามารถปรับระดับพลังงานที่ใช้กับ PS ได้โดยระดับพลังงานที่ต่างกันจะมีสีและความทนทานที่ต่างกันไป กลุ่มพันธมิตรโลกยังได้ใช้ข้อมูลของสไตรค์กันดั้มพัฒนาเป็นโมบิลสูทแด็กเกอร์ซีรีส์
สไตรค์กันดั้มถูกทำลายเมื่อมูว์ ลา ฟลากาใช้สไตรค์กันดั้มรับการโจมตีจากปืนโลเอนกรีนของยานโดมิเนียนแทนยานอาร์คแองเจิ้ล ส่วนสไตรค์รูจได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการต่อสู้กับโมบิลสูทของซาฟท์ เมื่อคิระใช้สไตรค์รูจไปรับสไตรค์ฟรีด้อมกันดั้ม
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550
การศึกษา
พ.ศ. 2482 รับราชการเป็นนักเกษตรผู้ช่วยโท แผนกปฐพีวิทยา และอาจารย์วิทยาลัยเกษตร บางเขน กรมเกษตรและการประมง
พ.ศ. 2487 เป็นอาจารย์โทแผนกวิศวกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2503 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นศาสตราจารย์
พ.ศ. 2507 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2515 ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อยู่ในตำแหน่งจนเกษียณอายุ
พ.ศ. 2529 นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2542 นายกราชบัณฑิตยสถาน เกียรติคุณ
วิชาที่ชอบที่สุดและทำได้ดีที่สุดคือ คณิตศาสตร์ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ หรือภาษา แต่หาเพื่อนร่วมถกปัญหายาก จึงเชื่อว่าจะช่วยเหลือประเทศชาติได้มากที่สุดในทางประวัติศาสตร์
มีชื่อเล่นว่า แงด หรือแรด เพราะซนเหมือนแรด แต่โตขึ้นเรียบร้อยจนเป็นเด็กนักเรียนชายตัวอย่างของโรงเรียนสตรี
มีน้องชายอายุน้อยกว่า 2 ปี ชื่อ ดร.ประพฤทธิ์ ณ นคร(งอก) อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
ถ้าไม่ได้รับทุนจาก ก.พ.ไปเรียนฟิลิปินส์ในครั้งนั้น อาจไปเป็นครูประชาบาล
ตั้งแต่ประถมจนจบปริญญาเอก เสียค่าเล่าเรียนเอง รวมกันทั้งสิ้น 63 บาท (3 บาท ตอนประถม 3 และ 60 บาทตอนเรียนซ้ำ ม.8 ที่สวนกุหลาบ)จึงถือว่าเป็นหนี้ตาสีตาสา ต้องมีหน้าสอนหนังสือใช้หนี้
เพื่อนที่สนิทคือ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ และ ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล
เพลงใกล้รุ่ง ใช้เวลาเขียน 30 นาที เนื่องจากมีประโยค "ไก่ประสานเสียงกัน" จึงได้นำไปแสดงครั้งแรกในงานสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่
เพลงชะตาชีวิต เขียนเนื้อร้องโดยไม่ได้เห็น ทั้งโน๊ตที่พระเจ้าอยู่หัวนิพนธ์ และเนื้อร้อง H.M Blues
เพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตร เป็นเพลงที่เครียดที่สุดในชีวิต ใช้เวลาเขียนตลอดทั้งคืน เนื่องจากเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ และเป็นเพลงของมหาวิทยาลัยเอง อีกทั้งเพลงประจำมหาวิทยาลัยของทั้งจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ เขียนเนื้อร้องไว้ดีมาก
พ.ศ. 2482 รับราชการเป็นนักเกษตรผู้ช่วยโท แผนกปฐพีวิทยา และอาจารย์วิทยาลัยเกษตร บางเขน กรมเกษตรและการประมง
พ.ศ. 2487 เป็นอาจารย์โทแผนกวิศวกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2503 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นศาสตราจารย์
พ.ศ. 2507 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2515 ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อยู่ในตำแหน่งจนเกษียณอายุ
พ.ศ. 2529 นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2542 นายกราชบัณฑิตยสถาน เกียรติคุณ
วิชาที่ชอบที่สุดและทำได้ดีที่สุดคือ คณิตศาสตร์ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ หรือภาษา แต่หาเพื่อนร่วมถกปัญหายาก จึงเชื่อว่าจะช่วยเหลือประเทศชาติได้มากที่สุดในทางประวัติศาสตร์
มีชื่อเล่นว่า แงด หรือแรด เพราะซนเหมือนแรด แต่โตขึ้นเรียบร้อยจนเป็นเด็กนักเรียนชายตัวอย่างของโรงเรียนสตรี
มีน้องชายอายุน้อยกว่า 2 ปี ชื่อ ดร.ประพฤทธิ์ ณ นคร(งอก) อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
ถ้าไม่ได้รับทุนจาก ก.พ.ไปเรียนฟิลิปินส์ในครั้งนั้น อาจไปเป็นครูประชาบาล
ตั้งแต่ประถมจนจบปริญญาเอก เสียค่าเล่าเรียนเอง รวมกันทั้งสิ้น 63 บาท (3 บาท ตอนประถม 3 และ 60 บาทตอนเรียนซ้ำ ม.8 ที่สวนกุหลาบ)จึงถือว่าเป็นหนี้ตาสีตาสา ต้องมีหน้าสอนหนังสือใช้หนี้
เพื่อนที่สนิทคือ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ และ ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล
เพลงใกล้รุ่ง ใช้เวลาเขียน 30 นาที เนื่องจากมีประโยค "ไก่ประสานเสียงกัน" จึงได้นำไปแสดงครั้งแรกในงานสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่
เพลงชะตาชีวิต เขียนเนื้อร้องโดยไม่ได้เห็น ทั้งโน๊ตที่พระเจ้าอยู่หัวนิพนธ์ และเนื้อร้อง H.M Blues
เพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตร เป็นเพลงที่เครียดที่สุดในชีวิต ใช้เวลาเขียนตลอดทั้งคืน เนื่องจากเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ และเป็นเพลงของมหาวิทยาลัยเอง อีกทั้งเพลงประจำมหาวิทยาลัยของทั้งจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ เขียนเนื้อร้องไว้ดีมาก
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550
แฟรงก์ แลมพาร์ด (Frank James Lampard) เป็นนักฟุตบอลชาวอังกฤษ ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลเชลซีในพรีเมียร์ลีก
ประวัติ
เกิดวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1978 ที่ลอนดอน ในตระกูลนักฟุตบอล โดยพ่อของเขาคือ Frank Lampard Sr. นั้นเคยติดทีมชาติอังกฤษ ลุงของเขา แฮร์รี่ เร้ดแน็ปป์ ปัจจุบันเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลเซาธ์แธมตัน และ เจมี่ เร้ดแน็ปป์ ญาติลูกพี่ลูกน้องก็เป็นนักเตะของเซาธ์แธมตันเช่นเดียวกัน
แฟรงก์ แลมพาร์ด เป็นหนึ่งในนักเตะเยาวชนของสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮม เคยถูกยืมตัวไปเล่นกับ Swansea ใน ค.ศ. 1995 และย้ายมาร่วมสโมสรฟุตบอลเชลซีใน ค.ศ. 2001 ติดฟุตบอลทีมชาติอังกฤษครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1999
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550
คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ (Karl Heinrich Marx) (5 พ.ค. ค.ศ. 1818 (พ.ศ. 2361) - 14 มี.ค. ค.ศ. 1883 (พ.ศ. 2426)) เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลอย่างสูงชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์การเมือง และยังเป็นนักปฏิวัติ มาร์กซไม่ใช่เป็นแค่นักทฤษฎีทางสังคมและการเมือง แต่เขายังเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการจัดตั้งกลุ่มกรรมกรนานาชาติ (International Workingmen's Association) แม้ว่าในอาชีพของมาร์กซ เขาได้วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาต่างๆ ในลักษณะของนักข่าว และนักปรัชญา ผลงานหลักของเขาคือบทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่มองผ่านทางการปะทะกันระหว่างชนชั้น โดยกล่าวสั้น ๆ ได้ดังคำนำในหนังสือแถลงการณ์ของชาวคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) ว่า: "ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาล้วนแต่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น" งานเขียนของเขาเป็นแกนหลักของการเคลื่อนไหวในแนวทางลัทธิคอมมิวนิสต์, สังคมนิยม, ลัทธิเลนิน, และลัทธิมาร์กซ
ประวัติ
คาร์ล มาร์กซ เกิดในครอบครัวชาวยิวหัวก้าวหน้าในเมืองเทรียร์แคว้นปรัสเซีย (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี) พ่อของเขา เฮอร์เชล ผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่เป็นราไบ ทำอาชีพทนาย ชื่อสกุลเดิมของมาร์กซคือ "มาร์กซ เลวี" ซึ่งแปลงมาจากชื่อสกุลยิวเก่าว่า มาร์โดไค ในปี ค.ศ. 1817 พ่อของมาร์กซได้เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาคริสต์นิกายลูเธอร์ซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐปรัสเซีย เพื่อรักษาอาชีพทนายเอาไว้ ครอบครัวมาร์กซเป็นครอบครัวเสรีนิยม และได้รับรองแขกที่เป็นนักวิชาการและศิลปินหลายคนในสมัยที่มาร์กซยังเป็นเด็ก
วัยเด็ก
มาร์กซได้คะแนนดีใน ยิมเนเซียม ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมปลายของรัฐปรัสเซีย เขาได้รางวัลจากวิทยานิพนธ์ระดับมัธยมปลายที่มีชื่อว่า "ศาสนา: กาวที่เชื่อมสังคมเข้าด้วยกัน" งานชิ้นแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้กับงานวิเคราะห์ศาสนาของเขาต่อไปในภายหลัง
มาร์กซเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองบอนน์ในปี ค.ศ. 1833 (พ.ศ. 2376) เพื่อศึกษากฎหมาย ตามคำเรียกร้องของบิดา ที่บอนน์เขาเข้าชมรมนักเดินทางแห่งเทรียร์ (และบางช่วงยังได้เป็นประธานชมรม) ผลการเรียนของเขาเริ่มตกต่ำ เนื่องจากเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการร้องเพลงอยู่ในร้านเบียร์ ปีถัดไปพ่อของเขาจึงให้เขาย้ายไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์ม (Friedrich-Wilhelms-Universität) ที่เอาจริงเอาจังด้านการวิชาการมากขึ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้คือมหาวิทยาลัยฮุมโบล์ดท (Humboldt-Universität zu Berlin)
การศึกษา
ที่เบอร์ลิน มาร์กซเริ่มหันไปสนใจปรัชญาท่ามกลางความไม่พอใจของบิดา เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ที่มีอายุไม่มากที่เป็นที่รู้จักในชื่อ "กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่" (Young Hegelians) ซึ่งนำโดยบรูโน บาวเออร์ (Bruno Bauer) สมาชิกหลายคนในกลุ่มพยายามโยงปรัชญาแนวหลังอริสโตเติลเข้ากับปรัชญาหลังเฮเกิล มักซ์ สเตอร์เนอร์ สมาชิกกลุ่มเฮเกิลรุ่นใหม่อีกคนหนึ่ง นำการวิพากษ์แบบเฮเกิลมาใช้เพื่อสร้างคำอธิบายที่แทบจะเป็นแบบสุญนิยม ว่าสุดท้ายแล้วอีโกนิยมคือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ แนวคิดเช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของแทบทุกคนในกลุ่ม และมาร์กซได้โต้แนวคิดนี้บางส่วนใน Die Deutsche Ideologie (อุดมการณ์เยอรมัน)
เกออร์ก เฮเกิล (Georg Hegel) เพิ่งเสียชีวิตไปไม่นานในปีค.ศ. 1831 (พ.ศ. 2374) และในช่วงชีวิตของเขานั้น ได้เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลทางวิชาการในสังคมเยอรมนีมาก กลุ่มที่เชื่อแนวคิดแบบเฮเกิล (รู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มเฮเกิลขวา) เชื่อว่าลำดับการวิภาษทางประวัติศาสตร์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และสังคมปรัสเซีย ที่ถึงพร้อมด้วยการบริการพลเมือง มหาวิทยาลัยที่ดี การพัฒนาทางอุตสาหกรรม และอัตราการจ้างงานที่สูง เป็นผลสรุปของการพัฒนาการทางสังคมดังกล่าว กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ที่มาร์กซสังกัดอยู่ด้วยนั้นเชื่อว่ายังจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบวิภาษอีก และสังคมปรัสเซียในขณะนั้น ยังมีความไม่สมบูรณ์อีกมาก ทั้งนี้เนื่องจากสังคมยังมีความยากจน รัฐบาลยังคงใช้ระบบเซ็นเซอร์ที่เข้มแข็ง และกลุ่มคนที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอร์ยังคงโดยกีดกันทางสังคม
มาร์กซถูกเตือนมิให้ส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์ม เนื่องจากคาดว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับที่นั่นเนื่องจากชื่อเสียงของมาร์กซ ว่าเป็นนักคิดแนวถอนรากถอนโคนในกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ มาร์กซจึงส่งวิทยานิพนธ์ของเขา ที่เปรียบเทียบทฤษฎีทางด้านอะตอมของดิโมคริตัสกับอีพิคารุสไปยังมหาวิทยาลัยเจนา ในปีค.ศ. 1840 (พ.ศ. 2383) ซึ่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มาร์กซจบการศึกษา
มาร์กซและกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่
เมื่อบาวเออร์อาจารย์ของเขาถูกขับออกจากภาควิชาปรัชญาในปี ค.ศ. 1842 (พ.ศ. 2385) มาร์กซจึงเลิกสนใจปรัชญาและหันเหความสนใจไปยังการเป็นนักข่าว เขาได้เข้าทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung หนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าของเมืองโคโลญน์ อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์เล่มนั้นโดนสั่งปิดในปี ค.ศ. 1843 (พ.ศ. 2386) ซึ่งเป็นผลบางส่วนจากความขัดแย้งระหว่างมาร์กซกับมาตรการเซ็นเซอร์ของรัฐ มาร์กซกลับไปสนใจปรัชญา และหันไปเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง พร้อมกับทำงานเป็นนักข่าวอิสระ ไม่นานมาร์กซก็ต้องเดินทางลี้ภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่มาร์กซต้องกระทำอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากการแสดงความเห็นแบบถอนรากถอนโคนของเขา
มาร์กซเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส ที่นั่นเอง เขาได้ขบคิดเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับบาวเออร์และกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ และได้เขียนบทความ ปัญหาชาวยิว (On the Jewish Question) ซึ่งเป็นบทวิพากษ์แนวคิดปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการปลดปล่อยทางการเมือง ที่ปารีสเขาได้พบ ฟรีดริช เองเกิลส ผู้ซึ่งกลายเป็นผู้ร่วมงานกับมาร์กซไปตลอดชีวิตของเขา เองเกิลสได้กระตุ้นให้มาร์กซสนใจสถานการณ์ของชนชั้นทำงาน และช่วยแนะนำให้มาร์กซสนใจเศรษฐศาสตร์ เมื่อเขาและเองเกิลสถูกภัยการเมืองอีกครั้งอันเนื่องมาจากงานเขียน เขาย้ายไปยังเมืองปรัสเซล ประเทศเบลเยียม
พวกเขาได้ร่วมกันเขียนบทความชื่อ อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology) ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาของเฮเกิลและกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ หลังจากนั้นมาร์กซเขียน ความอับจนของปรัชญา (The Poverty of Philosophy) ซึ่งวิพากษ์ความคิดสังคมนิยมสายฝรั่งเศส บทความทั้งสองวางรากฐานให้กับ คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) อันเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของมาร์กซและเองเกิลส. หนังสือ คำประกาศเจตนา ซึ่งสมาพันธ์คอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้อพยพชาวเยอรมันที่มาร์กซได้พบที่ลอนดอนได้ร้องขอให้เขียน ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391)
ปีนั้นเอง ในยุโรปได้เกิดการลุกฮือครั้งยิ่งใหญ่ กลุ่มคนงานได้เข้ายึดอำนาจจากกษัตริย์หลุยส์ ฟิลิปป์ในฝรั่งเศส และได้เชิญมาร์กซกลับปารีส หลังจากที่รัฐบาลคนงานล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392) มาร์กซย้ายกลับไปยังโคโลญน์ และได้เริ่มพิมพ์หนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung ขึ้นมาใหม่ก่อนจะถูกสั่งปิดลงอีกครั้ง สุดท้ายมาร์กซจึงย้ายไปยังลอนดอน. ในปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395) มาร์กซได้เขียนแผ่นพับ การปฏิวัติของหลุยส์โบนาปาร์ต (The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte) ที่วิเคราะห์เหตุการณ์ที่นโปเลียนเข้ายึดประเทศฝรั่งเศส. จากปี ค.ศ. 1852 ถึง 1861 ขณะที่อยู่ที่ลอนดอน มาร์กซทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวฝั่งยุโรปให้กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กทรีบูน (New York Tribune)
อาชีพ
ในปีค.ศ. 1863 (พ.ศ. 2406) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ วิลเลียม อีวาร์ท แกลดสโตนได้กล่าวสุนทรพจน์แก่สภาผู้แทน โดยเขาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยของประเทศอังกฤษและได้เพิ่มเติม (ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์ ไทมส์) ว่า "ผมควรจะมองการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งและอำนาจอย่างเมามายเหล่านี้ ด้วยความหวาดกลัวและความเจ็บปวด ถ้าผมเชื่อว่ามันเกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มชนที่มีชีวิตสะดวกสบายเท่านั้น ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของประชากรที่ใช้แรงงานเลย การเพิ่มขึ้นมาของความมั่งคั่งที่ผมได้อธิบายและที่ผมคิดว่าเกิดขึ้นจากกำไรจากการลงทุนนั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่เกิดเฉพาะกับชนชั้นที่ครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น" แต่ในรายงานฉบับกึ่งทางการ แกลดสโตนได้ลบประโยคสุดท้ายออก ซึ่งการแก้ไขนี้เป็นสิ่งที่กระทำกันทั่วไปในหมู่สมาชิกสภา
ในปีค.ศ. 1864 (พ.ศ 2407) มาร์กซได้ก่อตั้งกลุ่มกรรมกรนานาชาติที่ต่อมาถูกเรียกว่าแนวร่วมระหว่างประเทศที่หนึ่ง เพื่อเป็นแกนหลักในการทำกิจกรรมทางการเมือง ในคำสุนทรพจน์เปิดงานนั้น มาร์กซได้อ้างถึงคำพูดของแกลดสโตนไปในทำนองที่ว่า "การเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยและอำนาจอย่างเมามายนี้ เกิดขึ้นกับเฉพาะชนชั้นที่มีทรัพย์สินเท่านั้น" เขายังอ้างถึงคำพูดนี้อีกในหนังสือ เกี่ยวกับทุน ไม่นานนักความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มาร์กซอ้างกับที่มีบันทึกไว้ในรายงาน (ซึ่งเป็นที่แพร่หลาย) ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของแนวร่วมระหว่างประเทศ มาร์กซพยายามจะโต้ตอบข้อกล่าวหาเรื่องความไม่ซื่อสัตย์นี้ แต่ว่าข้อกล่าวอ้างนั้นก็กลับมาเรื่อยๆ
ในภายหลังมาร์กซได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่าคือหนังสือพิมพ์ เดอะ มอร์นิง สตาร์
เองเกิลสได้ใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ เกี่ยวกับทุน เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงนี้ลงได้ เองเกิลสอ้างว่าแหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ เดอะ มอร์นิง สตาร์ แต่เป็น ไทมส์ นักวิจารณ์แนวคิดมาร์กซิสม์เช่นนักข่าว พอล จอห์นสัน ยังคงใช้เรื่องนี้ในการกล่าวหามาร์กซในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่
แนวร่วมระหว่างประเทศที่หนึ่ง และคำพูดของแกลดสโตน
ที่ลอนดอน ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการโต้เถียงเรื่องการอ้างคำพูดของแกลดสโตนนี้ มาร์กซได้ทุ่มเทเวลาไปกับการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์และเชิงทฤษฎีสำหรับการเขียนหนังสือ ทุน (หรือในชื่อเต็มว่า ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และชื่อภาษาเยอรมันว่า Das Kapital). มาร์กซตีพิมพ์เล่มแรกของชุดในปี ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410), สำหรับอีกสองเล่มที่เหลือนั้น มาร์กซไม่ได้เขียนให้เสร็จสิ้น แต่ได้รับการเรียบเรียงโดยเองเกิลสจากบันทึกและร่างต่าง ๆ และตีพิมพ์หลังจากที่มาร์กซเสียชีวิตลงแล้ว
ช่วงเวลาที่เขาใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอนนั้น ครอบครัวของมาร์กซค่อนข้างยากจน และยังต้องอาศัยเงินช่วยเหลือจากเองเกิลสเป็นระยะ ๆ มาร์กซเสียชีวิตที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1883 (พ.ศ. 2426) ศพของเขาฝังที่สุสานไฮห์เกต (Highgate Cemetery) ที่ลอนดอน บนป้ายชื่อของเขาจารึกไว้ว่า: "กรรมาชีพในทุกพื้นถิ่น จงรวมพลัง!" ("Workers of all lands, unite!")
ช่วงปลายชีวิตของมาร์กซ
เจนนี ฟอน เวสฟาเลน ผู้เป็นภรรยาของมาร์กซ มาจากครอบครัวราชการ ลุงของเธอคือไลออน ฟิลิปส์ บิดาของพี่น้องเจอราร์ดและแอนตันผู้ก่อตั้งบริษัทฟิลิปส์ในปีค.ศ. 1891 ครอบครัวมาร์กซมีลูกหลายคน แต่ก็มีหลายคนที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก เอลินอร์ มาร์กซลูกสาวของพวกเขา (1855-1898) ซึ่งเกิดในลอนดอน ก็เป็นนักสังคมนิยมที่ทุ่มเทและช่วยแก้ไขงานของพ่อของเธอ เจนนี มาร์กซเสียชีวิตในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424)
ชีวิตสมรส
ความคิดของมาร์กซนั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากทั้งแนวคิดวิภาษวิธีประวัติศาสตร์ของเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) และเศรษฐศาสตร์การเมืองของแอดัม สมิท (Adam Smith) และเดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) เขาเชื่อในความเป็นไปได้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์และสังคมในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจแนวโน้มของประวัติศาสตร์รวมถึงผลลัพธ์ของข้อขัดแย้งทางสังคมได้
ปรัชญาของมาร์กซ (ที่เองเกิลส เรียกว่า วัตถุนิยมประวัติศาสตร์) นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงมาจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง (รวมถึงประวัติศาสตร์) นั้นจะต้องพิจารณาแบบวิภาษวิธี (dialectic) โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้าม หลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่าเป็น thesis + antithesis → synthesis (ข้อวินิจฉัย + ข้อโต้แย้ง → การประสม, การสังเคราะห์) เฮเกิลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงผู้ที่อยู่ในอำนาจเดิม มาร์กซยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกิลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกิลนั้นเป็นนักปรัชญาแนวจิตนิยม ส่วนมาร์กซนั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกิลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง
ในการยอมรับวิภาษวิธีเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดแบบจิตนิยมของเฮเกิลนั้น มาร์กซได้รับอิทธิพลมาจาก ลุควิก ฟอยเออร์บาค (Ludwig Feuerbach). ในหนังสือ "The Essence of Christianity" ฟอยเออร์บาคได้อธิบายว่าพระเจ้านั้น คือผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้คนยกย่องพระเจ้านั้น แท้จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์นั่นเอง. มาร์กซยอมรับแนวคิดเช่นนี้ และได้อธิบายว่า โลกวัตถุนั้นเป็นโลกที่แท้จริง ส่วนแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกวัตถุ แม้ว่ามาร์กซจะเชื่อเช่นเดียวกับเฮเกิลและนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในการแบ่งแยกโลกที่ปรากฏกับโลกที่แท้จริง เขาไม่เชื่อว่าโลกวัตถุนั้นจะซ่อนโลกที่แท้จริงทางจิตเอาไว้ ในทางกลับกัน มาร์กซยังเชื่อว่าอุดมการณ์ที่ถูกสร้างผ่านทางประวัติศาสตร์และกระบวนการสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ปิดบังไม่ให้ผู้คนเห็นสถาพทางวัตถุที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขา
ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแนวคิดของเฮเกิลของมาร์กซ คือ หนังสือที่เขียนโดย ฟรีดริช เองเกิลส (Friedrich Engels) ชื่อว่า "The Condition of the Working Class in England in 1844" (สภาพของชนชั้นกรรมาชีพในอังกฤษในปี 1844) หนังสือเล่มนี้ทำให้มาร์กซมองวิภาษวิธีเชิงประวัติศาสตร์ออกมาในรูปของความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และมองเป็นว่าชนชั้นกรรมาชีพสมัยใหม่จะเป็นแรงผลักดันที่ก้าวหน้าที่สุดสำหรับการปฏิวัติ
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อความคิดของมาร์กซ
แนวคิดหลักของมาร์กซวางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มาร์กซกล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงาน สำหรับมาร์กซแล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นความสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่างๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ด้วย:
แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอผ้า และการสร้างรังของฝูงผึ้งก็สามารถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยี่ยมยอดที่สุดก็คือ สถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง.
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มาร์กซมิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.
มาร์กซสืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมาร์กซิสจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว
มาร์กซไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาร์กซนั้นวางอยู่บนความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงสิ่งของเช่นที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปจนถึงเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ และ ความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิต ที่กล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมที่ผู้คนถูกดึงเข้าไปร่วม เมื่อเขาได้เป็นเจ้าของและได้ใช้ปัจจัยการผลิต ปัจจัยสองประการนี้รวมเป็น รูปแบบการผลิต มาร์กซสังเกตว่าในสังคมหนึ่งๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาโดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม โดยทั่วไปแล้ว มาร์กซเชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต ยกตัวอย่างเช่นเราได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่นอินเทอร์เน็ต แต่ต้องใช้เวลาหลังจากนั้น ก่อนที่เราจะได้พัฒนากฎหมายที่ควบคุมเทคโนโลยีนั้น สำหรับมาร์กซแล้วการไม่เข้ากันของ ฐาน ทางเศรษฐกิจกับ โครงสร้างส่วนบน (superstructure) ทางสังคม คือสิ่งที่ทำให้เกิดความระส่ำระสายและความขัดแย้งในสังคม
ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มาร์กซไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือ กลุ่มชนชั้น มาร์กซมิได้นิยาม "ชนชั้น" ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแค่การบรรยายแบบอัตวิสัย (subjective) เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย (objective) ด้วย เช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต
มาร์กซให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้โดยละเอียด มาร์กซทำโดยผ่านทางปัญหาความแปลกแยก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือ เมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิต แต่เมื่อกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิ์ของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของนายทุน นั่นคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธิ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์ (commodity fetishism) ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผู้คนด้วยกันเอง หลังจากนั้นผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สินหรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น
การคลั่งไคล้โภคภัณฑ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เองเกิลสเรียกว่า สำนึกที่ผิดพลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องของ อุดมการณ์ ซึ่งมาร์กซและเองเกิลสได้ให้ความหมายว่าเป็นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุกๆ ชนชั้นและทุกๆ เวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่งๆ กระทำผ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับกับการผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมสมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยังเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขึ้นนั้นมีผลิตผลมากกว่าคนที่ผลิตมันขึ้นมานั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น (ในความคิดของมาร์กซและเองเกิลส) ว่าผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้แปลกแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาโดยมาร์กซ ที่สรุปได้ในย่อหน้าหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel's "Philosophy of Right:"
ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์ที่แท้จริงและการประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ และวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝิ่นของมวลชน
แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มาร์กซมองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออกและจัดการกับความเหลื่อมล้ำนั่นเอง
การวิพากษ์ระบบทุนนิยมโดยมาร์กซ
บทวิพากษ์สังคมกระฎุมพีและการเหยียดเชื้อชาติของมาร์กซ
อิทธิพลของแนวคิดของมาร์กซ
ทฤษฎีมาร์กซิสถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายๆ มุมมอง
ผู้สนับสนุนระบบทุนนิยมได้อธิบายว่า แท้จริงแล้ว ในท้ายที่สุด ระบบทุนนิยมจะมีประสิทธิภาพในการสร้างและกระจายความร่ำรวย ได้ดีกว่าระบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ที่มาร์กซและเองเกิลสกังวลนั้น เป็นแค่ปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น. บางคนกล่าวว่า ความละโมบและความต้องการที่จะมีทรัพย์สินนั้น เป็นความต้องการพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ของมนุษย์ หาใช่เป็นผลมาจากการรับเอาระบบทุนนิยมเข้ามา หรือว่าเกิดจากระบบเศรษฐกิจใด ๆ (แม้ว่านักมานุษยวิทยาจะตั้งข้อสงสัยกับคำกล่าวอ้างนี้) และระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากสังคมที่แตกต่างกันสะท้อนความจริงนี้ออกมาไม่เหมือนกัน กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์สายออสเตรียวิจารณ์มาร์กซในการใช้ทฤษฎีมูลค่าจากแรงงาน (labor theory of value) นอกจากนี้นโยบายและการกระทำต่าง ๆ ของรัฐสังคมนิยม ที่มักอ้างว่าเป็นการกระทำตามแนวคิดของมาร์กซ ได้ทำลายชื่อของมาร์กซอย่างมากมายในโลกตะวันตก
มาร์กซเองก็โดนวิพากษ์วิจารณ์จากทางฝ่ายซ้ายด้วยเช่นกัน นักสังคมนิยมแนววิวัฒนาการไม่เชื่อคำอ้างของมาร์กซว่า การสร้างรัฐสังคมนิยมจะต้องกระทำผ่านทางการปะทะระหว่างชนชั้น และการปฏิวัติอย่างรุนแรงเท่านั้น. บางกลุ่มก็กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมระหว่างชนชั้นนั้น ไม่ใช่ความไม่เท่าเทียมพื้นฐานของประวัติศาสตร์ และชี้ให้เห็นความปัญหาของลัทธิชายเป็นใหญ่ และการเหยียดชาติพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและด้านประวัติศาสตร์ ในการใช้ "ชนชั้น" เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ และมีการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกันนี้ ถึงการที่มาร์กซถือความเชื่อของสมัยศตวรรษที่ 19 ที่เชื่อมวิทยาศาสตร์เข้ากับแนวคิดของ "ความก้าวหน้า" (ดู วิวัฒนาการเชิงสังคม) หลายคนเชื่อว่าระบบทุนนิยมเองได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นับจากสมัยของมาร์กซ และการแบ่งแยกชนชั้นก็มีรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างจากการที่คนงานก็มีสิทธิถือครองหุ้นของบรรษัทขนาดใหญ่ได้ โดยผ่านทางกองทุน (ดู แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม และ แนวคิดหลังสมัยใหม่ สำหรับการเคลื่อนไหวสองกลุ่มที่มักมีทิศทางสอดคล้องกับแนวคิดฝ่ายซ้าย ที่วิพากษ์มาร์กซและลัทธิมาร์กซ)
ยังมีกลุ่มที่วิจารณ์มาร์กซโดยใช้ทัศนะจากการศึกษาด้านปรัชญาของวิทยาศาสตร์ ที่โดดเด่นก็คือ คาร์ล พอพเพอร์ ผู้เป็นนักปรัชญา ได้วิพากษ์ทฤษฎีของมาร์กซว่า เป็นสิ่งที่ตรวจสอบว่าผิดไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คำอ้างทางประวัติศาสตร์ รวมถึงด้านสังคมและการเมืองของมาร์กซนั้น ไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ สาเหตุหลักมาจากการทำนายของมาร์กซว่า ระบบทุนนิยมจะล่มสลายลงเนื่องจากการปฏิวัติของชนชั้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะกล่าวว่า "สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น" ในขณะที่เหล่ามาร์กซิสจะโต้ว่า "แต่มันจะต้องเกิด" ลักษณะเช่นนี้ทำให้ข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ของแนวคิดมาร์กซที่วางอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์นิยมนั้น เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุผลนี้ พอพเพอร์จึงอธิบายว่า ไม่ว่ามาร์กซจะอ้างว่า ได้ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ความจริงแล้ว ความคิดแนวมาร์กซไม่สามารถเป็นความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้. กลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ในฝั่งตะวันตกมักกล่าวโทษมาร์กซอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการมองมาร์กซผ่านทางการกระทำของรัฐคอมมิวนิสต์ และปัญหาการเมืองเมื่อสมัยสงครามเย็น
พรรคการเมืองมาร์กซิสต์รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นั้น ลดความเข้มแข็งลง ภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต นักวิจารณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา ได้ใช้เหตุการณ์นี้อธิบายว่า เกิดขึ้นมาจากความล้มเหลวภายในหลาย ๆ อย่างในสหภาพโซเวียต และการล่มสลายที่ตามมานี้ เป็นผลพวงโดยตรงจากแผนการของมาร์กซ แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของแนวคิดมาร์กซิสม์. อย่างไรก็ตาม กลุ่มมาร์กซิสต์กล่าวว่า นโยบายของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลนินนิสต์และสตาลินนิสต์นั้น แม้จะดูผิวเผินแล้วคล้ายคลึงกับทฤษฎีของมาร์กซ แต่ในเนื้อแท้แล้วแตกต่างกันมาก. มาร์กซวิเคราะห์โลกในยุคสมัยของเขา และปฏิเสธที่จะเขียนแผนการว่าโลกสังคมนิยมจะต้องเป็นอย่างใด โดยเขากล่าวว่าเขามิได้ "เขียนตำราอาหาร สำหรับอนาคต". สำหรับภายนอกยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม รวมถึงการกลุ่มชาตินิยม มักมีความสำคัญกว่าคอมมิวนิสต์. อย่างไรก็ตาม หลายครั้งกลุ่มเคลื่อนไหวนี้ ได้ใช้แนวคิดของมาร์กซเป็นพื้นฐานทางทฤษฎี.
ผู้สนับสนุนมาร์กซในปัจจุบันกล่าวโดยทั่วไปว่า มาร์กซนั้นพูดไว้อย่างถูกต้องว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาพสะท้อนมาจากผลของประวัติศาสตร์และสภาพทางสังคม (ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้ถ้ายังเชื่อว่ามีธรรมชาติที่แท้ของมนุษย์อยู่) พวกเขาเชื่อว่าการวิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าของมาร์กซยังคงเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และความแปลกแยกก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญอยู่ พวกเขากล่าวว่าระบบทุนนิยมนั้น ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นระบบโดด ๆ แยกกันไปตามแต่ละประเทศ ดังนั้นการวิเคราะห์จะต้องพิจารณาว่าเป็นระบบที่เชื่อมต่อกันในระดับโลก พวกเขากล่าวว่าเมื่อมองในระดับโลกแล้ว ระบบทุนนิยมในขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการก่อตัว และก็กำลังขยายช่องว่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากจนขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษในบทความของเองเกิลส ซึ่งช่องว่างนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้มาร์กซหันเหจากการศึกษาปรัชญามาสนใจปัญหาสังคม
การวิพากษ์มาร์กซโดยนักคิดร่วมสมัย
หนังสือออนไลน์
information on the Marx/Engels papers at the International Institute of Social History
portraits of Karl Marx
วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550
เพลงเพื่อชีวิต (Songs for Life) แต่เเรกเริ่มหมายถึงเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตของคน โดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง กล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต การถูกเอารัดเอาเปรียบ เพลงในแนวเพื่อชีวิตในยุคนี้โดยมากจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลง จักรยานคนจน ของยอดรัก สลักใจ, น้ำมันแพง ของสรวง สันติ, น้ำตาอีสาน แต่งโดยชลธี ธารทองและขับร้องโดยสายัณห์ สัญญา เป็นต้น
เพลงเพื่อชีวิต ในประเทศไทยเริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลายช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อก โดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น บ๊อบ ดีแลนด์, บ๊อบ มาเลย์, นีล ยัง เป็นต้น วงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาราวาน, แฮมเมอร์, โคมฉาย เป็นต้น โดยความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น คาราบาว, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อินโดจีน, คนด่านเกวียน, มาลีฮวนน่า, โฮป, ซูซู, ตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคนหรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลงมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น เสกสรร ทองวัฒนา, ธนพล อินฤทธิ, หนู มิเตอร์, นิค นิรนาม, พลพล พลกองเส็ง, กะท้อน, ศุ บุญเลี้ยง, สิบล้อ เป็นต้น
วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550
พระยางัวนำถุม กษัตริย์สุโขทัยลำดับที่ 8 (พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1890) เป็นพระโอรสพ่อขุนบานเมือง สันนิษฐานกันว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คงอภิเสกสมรสกับพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม เหตุที่สันนิษฐานเช่นนั้นเนื่องจากเป็นธรรมเนียมของคนสมัยนั้นที่นิยมเอาชื่อบรรพบุรุษมาตั้งเป็นชื่อหลาน อาจารย์ประเสริฐฯ อธิบายว่า งั่ว เป็นคำนำหน้านามที่แสดงว่าเป็นบุตรชายคนที่ 5 และนำถุม ถาษาถิ่นแปลว่าน้ำท่วม
พระยางั่วนำถุมเป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยมาก่อนตามจารึกหลักที่ 15 แต่ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระยาเลอไทยซึ่งเป็นพระบิดาของพระยาลิไทยกบัตริย์ลำดับที่ 6
เรื่องราวของพระยางั่วนำถมยังคลุมเครือเนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่มาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
MyUngoo
คลังบทความของบล็อก
-
▼
2007
(112)
-
▼
สิงหาคม
(25)
- แมคโอเอสเท็น (Mac OS X) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่น...
- ส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื...
- บริษัท ทรู มูฟ จำกัด (True Move) เป็นบริษัทที่...
- อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 7 อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที...
- ต้วนล่าง ตัวละครในนิยายกำลังภายในเรื่อง ฟงอวิ๋...
- คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหา...
- พุทธศักราช 1987 ใกล้เคียงกับ เมษายน ค.ศ. 1444 -...
- ประวัติ ผลงาน ประมาณปี พ.ศ. 2344 โทมัสได้ท...
- GAT-X105 สไตรค์กันดั้ม(ญี่ปุ่น:ストライクガンダム ;อังกฤ...
- การศึกษา พ.ศ. 2482 รับราชการเป็นนักเกษตรผู้ช่วย...
- แฟรงก์ แลมพาร์ด (Frank James Lampard) เป็นนักฟ...
- คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ (Karl Heinrich Marx) (5 พ.ค...
- เพลงเพื่อชีวิต (Songs for Life) แต่เเรกเริ่มหม...
- พระยางัวนำถุม กษัตริย์สุโขทัยลำดับที่ 8 (พ.ศ. ...
- พระราชวังแวร์ซาย (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versa...
- พุทธศักราช 635 ใกล้เคียงกับ ค.ศ. 92 มหาศักราช 1...
- อำเภอคุระบุรีตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา อุทยานแ...
- ยานขนส่งอวกาศแอตแลนติส (Space Shuttle Orbiter ...
- โปรแกรมค้นดูเว็บ หรือ เว็บเบราว์เซอร์ คือโปรแก...
- Ref: ITIS 23802 ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimusops ele...
- ส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า เพื่อความดั...
- ดูความหมายอื่นของ จันทบุรี ได้ที่ จันทบุรี (แก้...
- บทความนี้ใช้ชื่อที่ใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจา...
- เครือข่ายอัจฉริยะ (IN --Intelligent Network) เ...
- ชุดของคำสั่งเครื่อง (instruction set) คือ รายชื...
-
▼
สิงหาคม
(25)